Generation Optimization- Recruiting

ในปัจจุบันนี้เป็นยุคที่มีหลากหลาย Generation มาทำงานร่วมกันมากที่สุดในองค์กร ทั้ง Traditionalists, Baby Boomers,  Gen X และ Gen Y แอดมินมีเทคนิคดี ๆ ในการสรรหา,รักษา และสร้างแรงบันดาลใจให้กับองค์กรที่ประกอบไปด้วยหลากหลาย Generation วันนี้มาว่ากันในเรื่องของการ Recruiting หรือการสรรหาคัดเลือกหาคนมาร่วมทีมกันก่อนนะครับ Recruiting (การสรรหาพนักงาน) Traditionalists:  พนักงานในกลุ่มนี้ไม่ค่อยใช้เทคโนโลยี ดังนั้นในการหาคนกลุ่มนี้มาร่วมทีมต้องลงประกาศทางหนังสือพิมพ์หรือไม่ก็ใช้วิธีให้คนรู้จักแนะนำกัน Baby Boomers:  สิ่งที่ดึงดูดคนกลุ่มนี้คือ ความมั่นคงทางการเงิน พร้อมกับ ผลประโยชน์ดี ๆ ที่บริษัทนำเสนอเช่น ประกันสุขภาพระดับ premium เป็นต้น Gen X:  Generation นี้ […]

พนักงาน 3 ประเภทในองค์กร แล้วพวกเราคือประเภทไหน

จากการสำรวจความคิดเห็นจากคนอเมริกัน 25 ล้านคนจากหลายร้อยองค์กร (the 2013 State of the American Workplace Report จัดทำโดย by Gallup) ได้ผลลัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเภทของพนักงานในองค์กร ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ 1) Engaged Employees 2) Disengaged Employees 3) Actively Disengaged Employees Engaged Employees:  พนักงานที่มีความสุขและความรู้สึกที่ดีให้กับองค์กร พร้อมที่จะเอาตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กร Disengaged Employees: มองง่าย ๆ ก็คือพนักงานที่ำทำงานไปวัน ๆ ครบเวลาทำงานก็กลับบ้าน จะว่าไปมาก็เพื่อลงบันทึกเวลาทำงานแค่นั้น […]

หากไม่ได้ทำผิด นายจ้างไม่มีสิทธิ์ “ไล่เราออก” แต่ “เลิกจ้าง” เราได้

เพื่อนที่ทำงานเก่า ได้เล่าเรื่องในสถานที่ทำงานของเค้าให้ฟังว่า มีอยู่วันหนึ่งนายของเค้าได้เรียกพนักงานท่านหนึ่งเข้าไปในห้องแล้วยื่นเอกสารให้ 2 ฉบับ ใช่ครับเป็นอย่างที่ทุกท่านคิดครับ ฉบับแรกคือ จดหมายรับรองการทำงาน ฉบับที่สองคือจดหมายไล่ออก…..พวกเราหากไม่เคยอยู่ในสถานการณ์นี้ และยิ่งหากไม่ได้ศึกษาเรื่องกฎหมายแรงงาน ผมว่าเราตั้งตัวกันไม่ติดเหมือนกันนะครับ ลองมาดูกันครับ เราควรทำอย่างไรหากคน ๆ นั้นเป็นเราเอง เจ้านายเริ่มพูดว่า ดิฉันก็จ้างคุณมาค่าตัวแพงอยู่นะ แต่ผลงานคุณมันไม่คุ้มกับเงินที่บริษัทเราจ้างคุณจริง ๆ คุณไม่เหมาะกับงานอย่างนู้นอย่างนี้ บลา บลา บลา ดังนั้นคุณเลือกเอารึกันว่าจะลาออกเองแล้วบริษัทจะให้ใบผ่านงาน หรือจะให้บริษัทไล่คุณออก แล้วเสียประวัติการทำงาน โดยสรุปพนักงานท่านนั้นก็เลือกที่จะลาออกเองเพราะเท่าทีฟังดูพนักงานท่านนี้ก็พอจะสังเกตได้ว่านายคนนี้บางทีก็พูดแปลก ๆ กลางที่ประชุม รวมถึงได้มีพนักงานออกก่อนเค้า 2-3 ท่าน ซึ่งก็ถูกนายจ้างคนนี้กระทำคล้าย ๆ กัน จากประสบการณ์ของผม ผมว่านายจ้างคนนี้เค้าลืม (หรือตั้งใจลืม) อะไรไปอย่างรึเปล่าครับ??? ลูกจ้างทำความผิดอะไรถึงมีสิทธิ์ที่จะไล่เค้าออก??? […]

การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)

ขณะที่เขียนข้อมความนี้ตัวผมเองก็กำลังลุ้นให้ทางรัฐบาลออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2556 ก่อนปิดประชุมสภาในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ยังไงก็แอบใจชื้นเล็ก ๆ เมื่อทางกระทรวงคลังเตรียมแผนสำรองในการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแทนที่จะเป็นพระราชบัญญัติ http://www.thaipost.net/news/190913/79514 ผมคำนวณดูแล้วพนักงานที่เงินเดือนเยอะ ๆ บางที ภาษีต่างกัน 50 – 60% ก็มีครับ วันนี้ก็เลยนึกอยากจะแชร์การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ท่าน ๆ ได้ดูกัน เพราะเป็นความรู้พื้นฐานที่ต้องรู้เพื่อรักษาสิทธิ์ประโยชน์ของเราเอง และก็เป็นการปูพื้นฐานก่อนที่ผมจะเล่าสู่การฟังในเรื่องของการคิดภาษี กรณีบริษัทออกให้ หรือที่ท่าน ๆ เรียกกันว่า Tax on Tax Calculation หรือ Net Benefit อะไรประมาณนี้ครับ ผมสรุปมาให้ดังรูปข้างล่างนะครับ   ตัวอย่าง  ถ้าผมเองมีรายได้พึงประเมิณหลังจากหักค่าลดหย่อนแล้ว 350,000 บาท ผมจะต้องเสียภาษีดังนี้ครับ ผมขออนุญาตใ้ช้อัตราใหม่นะครับ แบ่งเงินเป็นก้อน […]

มี Skills อยู่กับตัว ไม่ต้องกังวลกับการหางาน

เมื่อวานได้พูดถึงมุมมองของผู้ทีีสัมภาษณ์เรา เค้าอยากได้ยินและเห็นเราอย่างไรบ้างตอนสัมภาษณ์ วันนี้ลองมาดูกันว่าหากเราประสบการณ์ทำงานน้อย หรือมี gap ใน resume ของเรา เราจะทำอย่างไรดีเพื่อให้เราเป็นหนี่งในตัวเลือกของบริษัทที่เราสมัครไป ลองมาดูกันทีละข้อนะครับ 1. Professional Appearance …ความประทับใจเมื่อแรกพบอย่าให้พลาด ยังไงเรื่องนี้ก็ยังเป็นเรื่องที่ผมขอย้ำ ๆ  ๆ   ๆ ครับ อันนี้ไม่ใช่แต่เพียงเรื่องการแต่งกาย แต่รวมถึงสิ่งที่ทำให้เค้าคิดถึงเราได้ เช่น Resume ควรให้ใครสักคนช่วยอ่านตรวจสอบอีกที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความถูกต้องของตัวสะกด ต้อง error free ! นะครับ อีกเรื่องก็คือสมัยนี้ ระบุตัวตนได้ง่ายนะครับ ถามอากู๋ก็เจอเราแล้ว ดังนั้น หากมีภาพของเราที่ไม่เรียบร้อยในโลก online เอามันออกไปก็ดีนะครับ 2. […]

มาดูกันว่าคนที่เค้าสัมภาษณ์เราเค้าอยากบอกอะไรเราบ้าง

จากประสบการณ์ที่ได้อยู่ในขั้นตอนของการสัมภาษณ์งาน คิดว่าหากผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถเปล่งพลังแสงออกมาให้ได้ตามหัวข้อที่จะเล่าสู่กันฟังก็คงดีมิใช่น้อยครับ อย่างไรก็ตามการสัมภาษณ์งานที่ดีก็คงหนีไม่พ้นการเป็นตัวของตัวเราเองครับ เพราะจะว่าไปสถานที่ทำงานก็เหมือนเป็นอีกบ้านครับ คงพอเดากันได้นะครับ การที่มีเข้ากับคนที่บ้านไม่ได้ ชีวิตเราดูจะไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ ดังนั้น แต่งเสริมเติมแต่งข้อที่จะแนะนำไปเป็นรูปแบบของตัวเองนะครับ 1. ทำตัวให้เค้าชอบเรา อันนี้พูดง่าย ๆ ก็คือ First Impression ครับ การสัมภาษณ์งานก็มีส่วนคล้ายการออกเดทนะครับผมว่า เพียงแต่เป็นความสัมพันธ์แบบ professional ดังนั้นทำให้แว๊ปแรกที่เค้าเห็นเราแล้วเค้าประทับใจก็มีชัยไปกว่าครึ่งครับ เชื่อผมครับ มีนะครับ คนที่อาจจะเป็นตัวของตัวเองมากเกินจนแสดงออกมาทั้งในเรื่องการแต่งกาย และการพูด…..เค้าก็ไม่ผิดครับ แค่องค์กรส่วนมาก (ผมคิดเองนะครับ) ยังให้ความสำคัญเรื่อง First Impression (ในทางที่ดี) ครับ 2. อย่าเพิ่งออกตัวแรง “ผมอยากได้งานนี้”, “งานนี้ใช่เลย” จนกว่าจะได้ฟังและสอบถามรายละเอียดของงาน ไม่ต้องอะไรมากครับ ลองหลับตาแล้วนึกดูว่ามีคนสองคนครับ คนหนึ่งเปิดตัวเลย […]

ค่าลดหย่อนภาษีจากบุตรของฝ่ายชายกรณีสมรสไม่จดทะเบียน

ในช่วงที่ผมทำการนำพนักงานใหม่เข้าระบบ payroll ของทางบริษัท สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าอักขระความถูกต้องของตัวอักษร หรือเลขที่บัญชี ก็คือข้อมูลการลดหย่อนภาษี ผมมักจะถูกถามเสมอครับว่าการที่พนักงานฝ่ายชาย เลือกสถานะการสมรสว่า “สมรสไม่จดทะเบียน” แล้วใส่ข้อมูลว่ามีบุตรกำลังศึกษาอยู่ ในกรณีนี้ฝ่ายชายสามารถนำบุตรมาหักลดหย่อยภาษีได้หรือไม่ เหมือนเดิมครับผมข้ออ้างอิงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการตอบคำถามข้อนี้ดังนี้ครับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และ 1547 บัญญัติไว้ว่า—- มาตรา 1546  เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น มาตรา 1547 บัญญัติว่า ” เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้มีการสมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง  หรือ  บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร น่าจะชัดแล้วนะครับ มาตรา 1546 ให้คำตอบเราได้ชัดเลยครับว่า ฝ่ายชายนั้นไม่มีสิทธิ์จะนำบุตรไปลดหย่อนภาษี ในกรณีสมรสไม่จดทะเบียนนะครับ (เพราะถือว่าไม่ได้เป็นบุตรที่ชอบธรรมโดยกฎหมายครับ) ยกเว้น….ดูมาตรา 1547 กันต่อคับ […]

นิติบุคคลต่างประเทศ กับการจ่าย ภ.ง.ด 1 ครั้่งแรก.. “ไม่เจอบริษัทเราในระบบของกรมสรรพากร”

สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงของงานบุคคลยิ่งมีพนักงานเป็นชาวต่างชาติ คงวุ่นวายพอสมควรกับคำว่า Work Permit เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าสู่กันฟังวันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่อง Work Permit ของพนักงานต่างชาติสักทีเดียวครับ แต่เป็นเรื่องที่ผมต้องรีบไปยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของพนักงานที่คนต่างชาติคนนี้เป็นกรรมการบริษัทอยู่เพื่อที่จะใช้ขอ Visa และ Work permit (การที่เค้าจะได้ Visa และ Workpermit 1 ปี ผมต้องเตรียมหลักฐานการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมและหลักฐานการชำระเงินภาษีหักณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1 ของพนักงานในบริษัท) สิ่งที่เกิดขึ้นคือหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรซึ่งปกติ ถ้าเป็นบริษัทนิติบุคคลในประเทศ ก็จะเป็นหมายเลขเีดียวกับเลขทะเบียนในหนังสือรับรองบริษัท (รูปที่ 1) ผมเตรียมฟอร์ม ภ.ง.ด. 1 อย่างดี รีบไปยื่นที่สรรพากรพื้นที่ พร้อมกับคิดในใจว่าบริษัทเพิ่งจดทะเบียนนายจ้างเสร็จหมาด ๆ มันจะมีปัญหาอะไรไหมหนอ…แต่ก็ไม่น่าจะมีหนิ […]

การคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีทำงานไม่เต็มเดือน (Prorated Salary)

มีพนักงานหลายท่านทีเดียวครับ โทรมาสอบถามว่าในการคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีที่พนักงานไม่ได้เริ่มงานต้นเดือนเวลาคิดเงินเดือนนั้นตัวหารที่ใช้เนี้ย ถ้าให้ถูกต้องจริง ๆ ต้องหารด้วยจำนวนวันจริง ๆ ในเดือนนั้นหรือหารด้วย 30 เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ผมขอนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 68 มาเป็นบทเทียบเคียงนะครับ มาตรา 68: เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้่างต่อชั่วโมงในวันทำงานหมายถึงค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย เช่นสมมุติว่านางสาวเกรซเริ่มงานที่บริษัท Together ในวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ด้วยเงินเืดือนที่ระบุในสัญญาจ้างคือ 30,000 บาทต่อเดือน และบริษัทให้ค่าสึกหรอรถยนต์ รวมถึงค่าโทรศัพท์ เป็นจำนวนเงิน 9,000 และ 500 บาท ตามลำดับ การที่จะหาเงินได้ก่อนหักค่านู้นนี่ (เงินสมทบประกันสังคม, ภาษีเงินได้ และค่าอื่น  ๆ […]

ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องร้อนทีเดียวครับ (ร้อนมาสักพักใหญ่ละ ยังไม่สรุปสักที) เกี่ยวกับอัตราภาษีที่จะใช้ในปีภาษี 2556 ในแง่มุมของประโยชน์ของอัตราใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือนรวมถึงที่มาที่ไปกว่าจะได้อัตราคำนวณใหม่นั้นในแง่การบัญญัติกฎหมายเค้าทำกันอย่างไรครับ เป็นเรื่องที่น่าดีใจเมื่อได้ยินเรื่องการปรับตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2556 (ยื่นภายใน 31 มีนาคม2557) เนื่องจากอัตราภาษีใหม่นั้นมีการถ่างช่วงการคิดภาษีออกซึ่งช่วงที่ถ่างออกจะทำำให้เราเสียภาษีในจำนวนที่ลดลง ขออนุญาตนำรูปมากจาก “บล็อกภาษีข้างถนน” (http://tax.bugnoms.com/) เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นนะครับ เช่น รายได้สุทธิ 150,001-500,000 บาท ของเดิมเสียภาษีทั้งก้อนของเงินในช่วงนี้อยู่ 10% แต่อัตราใหม่ มีการแบ่งช่วง 150,001-300,000 บาท เสียภาษี แค่ 5% และที่เหลือในช่วงเสีย 10% ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลของมนุษย์เงินเดือนรวมถึงคนทำเงินเดือนอย่างข้าพเจ้า 🙂 เป็นต้นว่าเมื่อไหร่เจ้าอัตราภาษีใหม่นี้จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เพราะดูเหมือนว่าความล่าช้าอันนี้มีแต่ก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ถ้าประกาศทันใช้ กรมสรรพกรก็คงทำงานหนักทีเดียวกับการขอคืนภาษีในช่วงยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 […]