กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 1

สวัสดีครับ ครั้งที่แล้วได้แชร์ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คงจะทราบแล้วนะครับว่ามีพนักงานเพียงท่านเดียว นายจ้างก็สามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นะครับ คราวนี้มาดูอีกคำถามที่พบบ่อยคือ เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องนำมาเป็นเงินได้พึงประเมินในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ครับ การที่จะตอบคำถามนี้ได้ต้องเข้าใจ 2 เรื่องครับ 1) เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิก 2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เงินอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินที่เกี่ยวข้องก็จะมี 4 ส่วนนะครับ 1) เงินสะสม (ลูกจ้างสะสม) 2) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 1) ไปลงทุน 3) เงินสมทบ (นายจ้างสมทบ) 4) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 3) ไปลงทุน   เงินส่วนที่ 1) และ 2) ปกติพนักงานได้อยู่แล้วนะครับ […]

การคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีทำงานไม่เต็มเดือน (Prorated Salary)

มีพนักงานหลายท่านทีเดียวครับ โทรมาสอบถามว่าในการคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีที่พนักงานไม่ได้เริ่มงานต้นเดือนเวลาคิดเงินเดือนนั้นตัวหารที่ใช้เนี้ย ถ้าให้ถูกต้องจริง ๆ ต้องหารด้วยจำนวนวันจริง ๆ ในเดือนนั้นหรือหารด้วย 30 เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ผมขอนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 68 มาเป็นบทเทียบเคียงนะครับ มาตรา 68: เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้่างต่อชั่วโมงในวันทำงานหมายถึงค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย เช่นสมมุติว่านางสาวเกรซเริ่มงานที่บริษัท Together ในวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ด้วยเงินเืดือนที่ระบุในสัญญาจ้างคือ 30,000 บาทต่อเดือน และบริษัทให้ค่าสึกหรอรถยนต์ รวมถึงค่าโทรศัพท์ เป็นจำนวนเงิน 9,000 และ 500 บาท ตามลำดับ การที่จะหาเงินได้ก่อนหักค่านู้นนี่ (เงินสมทบประกันสังคม, ภาษีเงินได้ และค่าอื่น  ๆ […]