ภาษี: ค่าลดหย่อนบุตร

สวัสดีครับ เมื่อครั้งที่แล้วเราว่ากันเรื่องค่าลดหย่อนคู่สมรส ครั้งนี้ผมขอต่อด้วยค่าลดหย่อนบุตรนะครับ รายละเอียดก็ตามรูปข้างล่างเลยนะครับ ผมแค่อยากจะเน้นในส่วนของเงื่อนไขอื่น ๆ ที่หลายท่านมักจะสงสัยนะครับ เช่น ลูกเรียนจบมหาลัยแล้ว (อายุ เกิน 20 แต่ยังไม่เกิน 25 ปี) ยังสามารถลดหย่อนได้หรือไม่ อันนี้ก็ต้องตอบเลยว่า “ไม่ได้” นะครับ เพราะเงื่อนไขคือ ถ้าไม่ใช่ผู้เยาว์แล้ว บุตรต้องศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไปถึงลดหย่อนได้ครับ ในกรณีเดียวกันหากบุตรเรียนต่อโท คำตอบก็จะเปลี่ยนไปนะครับ คือนำมาลดหย่อนได้ อีกประเด็นที่อยากจะย้ำคือ คำว่าระดับอุดมศึกษาคือ สูงกว่าระดับมัธยมนะครับ ในที่นี้ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ สูงกว่า ม.6 ครับ ดังนั้น บุตรซึ่งไม่ใช่ผู้เยาว์แล้ว ศึกษาในระดับ ปวช ก็ไม่สามารถนำมาลดหย่อนได้นะครับ เพราะระดับปวช […]

การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)

ขณะที่เขียนข้อมความนี้ตัวผมเองก็กำลังลุ้นให้ทางรัฐบาลออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2556 ก่อนปิดประชุมสภาในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ยังไงก็แอบใจชื้นเล็ก ๆ เมื่อทางกระทรวงคลังเตรียมแผนสำรองในการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแทนที่จะเป็นพระราชบัญญัติ http://www.thaipost.net/news/190913/79514 ผมคำนวณดูแล้วพนักงานที่เงินเดือนเยอะ ๆ บางที ภาษีต่างกัน 50 – 60% ก็มีครับ วันนี้ก็เลยนึกอยากจะแชร์การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ท่าน ๆ ได้ดูกัน เพราะเป็นความรู้พื้นฐานที่ต้องรู้เพื่อรักษาสิทธิ์ประโยชน์ของเราเอง และก็เป็นการปูพื้นฐานก่อนที่ผมจะเล่าสู่การฟังในเรื่องของการคิดภาษี กรณีบริษัทออกให้ หรือที่ท่าน ๆ เรียกกันว่า Tax on Tax Calculation หรือ Net Benefit อะไรประมาณนี้ครับ ผมสรุปมาให้ดังรูปข้างล่างนะครับ   ตัวอย่าง  ถ้าผมเองมีรายได้พึงประเมิณหลังจากหักค่าลดหย่อนแล้ว 350,000 บาท ผมจะต้องเสียภาษีดังนี้ครับ ผมขออนุญาตใ้ช้อัตราใหม่นะครับ แบ่งเงินเป็นก้อน […]