มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560

กรมสรรพากรได้ทำการชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ดังนี้   เงินบริจาคมีสิทธิ หักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายทางภาษีได้ 1.5 เท่า สำหรับการบริจาคระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2560 โดยสามารถนำจำนวนเงินที่บริจาคไปหักลดหย่อนในการคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ 1.5 เท่า แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคอื่นแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเพื่อซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับตัวอาคารหรือในที่ดิน อันเป็นที่ตั้งของอาคาร หรือในการซ่อมแซมห้องชุดในอาคารชุดหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้ง ในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย ตามจำนวนที่จ่ายจริง […]

ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา-ลดหย่อนคู่สมรส

สวัสดีครับ นี้ก็ปาไปเกินครึ่งปีแล้วนะครับ ดังนั้นเรามาเตรียมวางแผนภาษีเราก็ดีนะครับ ยิ่งใครที่ได้โบนัสกลางปีมา ก็คงพอกะคร่าว ๆ ได้ว่าเราจะบริหารจัดการกับเงินภาษีกันได้อย่างไร เช่นการซื้อประกันชีวิต หรือกองทุน LTF เพื่อเพิ่มค่าลดหย่อน ทำให้เราเสียภาษีน้อยลง ตอนนี้เป็นต้นไปผมจะลงรายละเอียดค่าลดหย่อนแต่ละตัวนะครับ อ่านสนุก ๆ เป็นความารู้ แล้วถ้าจะดีกว่านั้นก็ลองวางแผนภาษีของเราเองนะครับ แทนที่จะเสียเงินภาษีไปเปล่า ๆ ถ้าเราโยกเงินก้อนที่ได้มาไปก่อให้เกิดประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม แถมลดภาษีได้ด้วย ก็ดีมิใช่น้อย 1) ค่าลดหย่อนคู่สมรส (Spouse Allowance): 30,000 บาท ค่าลดหย่อนตัวแรกที่จะพูดถึงคือค่าลดหย่อนภาษีเนื่องจากคู่สมรสครับ อันนี้ต้องเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฏหมายนะครับ นั่นก็คือต้องมีการจดทะเบียน อย่าคิดว่ากรมสรรพากรเค้าไม่ตรวจสอบนะครับ พวกค่าลดหย่อน ระหว่างปีอาจหลับหูหลับตาใส่ไปได้ แต่ตอนยื่น ภงด.90 หรือ ภงด.91 ตอนสิ้นปีใส่ตามจริงนะครับ โดนย้อนหลังไม่คุ้มครับ […]

ค่าลดหย่อนภาษีจากบุตรของฝ่ายชายกรณีสมรสไม่จดทะเบียน

ในช่วงที่ผมทำการนำพนักงานใหม่เข้าระบบ payroll ของทางบริษัท สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าอักขระความถูกต้องของตัวอักษร หรือเลขที่บัญชี ก็คือข้อมูลการลดหย่อนภาษี ผมมักจะถูกถามเสมอครับว่าการที่พนักงานฝ่ายชาย เลือกสถานะการสมรสว่า “สมรสไม่จดทะเบียน” แล้วใส่ข้อมูลว่ามีบุตรกำลังศึกษาอยู่ ในกรณีนี้ฝ่ายชายสามารถนำบุตรมาหักลดหย่อยภาษีได้หรือไม่ เหมือนเดิมครับผมข้ออ้างอิงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการตอบคำถามข้อนี้ดังนี้ครับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และ 1547 บัญญัติไว้ว่า—- มาตรา 1546  เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น มาตรา 1547 บัญญัติว่า ” เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้มีการสมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง  หรือ  บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร น่าจะชัดแล้วนะครับ มาตรา 1546 ให้คำตอบเราได้ชัดเลยครับว่า ฝ่ายชายนั้นไม่มีสิทธิ์จะนำบุตรไปลดหย่อนภาษี ในกรณีสมรสไม่จดทะเบียนนะครับ (เพราะถือว่าไม่ได้เป็นบุตรที่ชอบธรรมโดยกฎหมายครับ) ยกเว้น….ดูมาตรา 1547 กันต่อคับ […]