กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 2

บทความที่แล้วเราเห็นภาพแล้วนะครับว่าเงินที่ได้จากกองทุนเมื่อเราออกจากกองทุนก็จะมีทั้งหมด 4 ส่วนนะครับ ส่วนที่นำมารวมคิดภาษีนั้นก็คือส่วนที่ (2) ถึง (4) ครับ คราวนี้ถ้าเกิดเราไม่ได้เกษียณอายุ แล้วอยากนำเงินก้อนนี้ออกมาใช้เราจะจัดการอย่างไรเพื่อให้มีภาระภาษีน้อยที่สุด ผมขอแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ครับ ซึ่งแต่ละกรณีขึ้นกับอายุงานของท่านทั้งหลายครับ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 1

สวัสดีครับ ครั้งที่แล้วได้แชร์ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คงจะทราบแล้วนะครับว่ามีพนักงานเพียงท่านเดียว นายจ้างก็สามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นะครับ คราวนี้มาดูอีกคำถามที่พบบ่อยคือ เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องนำมาเป็นเงินได้พึงประเมินในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ครับ การที่จะตอบคำถามนี้ได้ต้องเข้าใจ 2 เรื่องครับ 1) เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิก 2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เงินอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินที่เกี่ยวข้องก็จะมี 4 ส่วนนะครับ 1) เงินสะสม (ลูกจ้างสะสม) 2) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 1) ไปลงทุน 3) เงินสมทบ (นายจ้างสมทบ) 4) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 3) ไปลงทุน   เงินส่วนที่ 1) และ 2) ปกติพนักงานได้อยู่แล้วนะครับ […]

Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) พนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจัดตั้งได้

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คำถามที่ผมมักได้ยินบ่อย ๆ คือ ต้องมีจำนวนพนักงานขั้นต่ำกี่คน บริษัทจึงสามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้  ก่อนจะไปถึงตรงนั้นผมขออธิบายคร่าว ๆ นะครับเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบครับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม“และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ “ (ลูกจ้างออมเงินเท่าไร นายจ้างช่วยเติมเงินให้ในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายเสมอ)  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “ หลักการในการสะสมและสมทบเงิน เงินสะสมของลูกจ้าง เป็นเงินที่ลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหักจากค่าจ้างสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง เงินสมทบของนายจ้าง เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก โดยอัตราสมทบต้องไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้างบางบริษัทใช้เรื่องของกองทุนในการรักษาพนักงานไว้กับบริษัทโดยการกำหนดเวลาการทำงานขั้นต่ำที่ต้องอยู่กับบริษัทเพื่อให้ได้เงินสมทบในส่วนของนายจ้าง โดยทั่วไปที่พบคือต้องอยู่ครบ 5 ปี (อันนี้แล้วแต่กองทุนนะครับ) ปล. ข้อบังคับกองทุนอาจระบุถึงเหตุที่จะทำให้สมาชิกหมดสิทธิได้รับเงินสมทบและผลตอบแทนจากเงินสมทบได้ด้วย […]