ค่าลดหย่อนภาษีจากบุตรของฝ่ายชายกรณีสมรสไม่จดทะเบียน

ในช่วงที่ผมทำการนำพนักงานใหม่เข้าระบบ payroll ของทางบริษัท สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าอักขระความถูกต้องของตัวอักษร หรือเลขที่บัญชี ก็คือข้อมูลการลดหย่อนภาษี ผมมักจะถูกถามเสมอครับว่าการที่พนักงานฝ่ายชาย เลือกสถานะการสมรสว่า “สมรสไม่จดทะเบียน” แล้วใส่ข้อมูลว่ามีบุตรกำลังศึกษาอยู่ ในกรณีนี้ฝ่ายชายสามารถนำบุตรมาหักลดหย่อยภาษีได้หรือไม่ เหมือนเดิมครับผมข้ออ้างอิงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการตอบคำถามข้อนี้ดังนี้ครับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และ 1547 บัญญัติไว้ว่า—- มาตรา 1546  เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น มาตรา 1547 บัญญัติว่า ” เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้มีการสมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง  หรือ  บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร น่าจะชัดแล้วนะครับ มาตรา 1546 ให้คำตอบเราได้ชัดเลยครับว่า ฝ่ายชายนั้นไม่มีสิทธิ์จะนำบุตรไปลดหย่อนภาษี ในกรณีสมรสไม่จดทะเบียนนะครับ (เพราะถือว่าไม่ได้เป็นบุตรที่ชอบธรรมโดยกฎหมายครับ) ยกเว้น….ดูมาตรา 1547 กันต่อคับ […]

นิติบุคคลต่างประเทศ กับการจ่าย ภ.ง.ด 1 ครั้่งแรก.. “ไม่เจอบริษัทเราในระบบของกรมสรรพากร”

สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงของงานบุคคลยิ่งมีพนักงานเป็นชาวต่างชาติ คงวุ่นวายพอสมควรกับคำว่า Work Permit เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าสู่กันฟังวันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่อง Work Permit ของพนักงานต่างชาติสักทีเดียวครับ แต่เป็นเรื่องที่ผมต้องรีบไปยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของพนักงานที่คนต่างชาติคนนี้เป็นกรรมการบริษัทอยู่เพื่อที่จะใช้ขอ Visa และ Work permit (การที่เค้าจะได้ Visa และ Workpermit 1 ปี ผมต้องเตรียมหลักฐานการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมและหลักฐานการชำระเงินภาษีหักณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1 ของพนักงานในบริษัท) สิ่งที่เกิดขึ้นคือหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรซึ่งปกติ ถ้าเป็นบริษัทนิติบุคคลในประเทศ ก็จะเป็นหมายเลขเีดียวกับเลขทะเบียนในหนังสือรับรองบริษัท (รูปที่ 1) ผมเตรียมฟอร์ม ภ.ง.ด. 1 อย่างดี รีบไปยื่นที่สรรพากรพื้นที่ พร้อมกับคิดในใจว่าบริษัทเพิ่งจดทะเบียนนายจ้างเสร็จหมาด ๆ มันจะมีปัญหาอะไรไหมหนอ…แต่ก็ไม่น่าจะมีหนิ […]

ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องร้อนทีเดียวครับ (ร้อนมาสักพักใหญ่ละ ยังไม่สรุปสักที) เกี่ยวกับอัตราภาษีที่จะใช้ในปีภาษี 2556 ในแง่มุมของประโยชน์ของอัตราใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือนรวมถึงที่มาที่ไปกว่าจะได้อัตราคำนวณใหม่นั้นในแง่การบัญญัติกฎหมายเค้าทำกันอย่างไรครับ เป็นเรื่องที่น่าดีใจเมื่อได้ยินเรื่องการปรับตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2556 (ยื่นภายใน 31 มีนาคม2557) เนื่องจากอัตราภาษีใหม่นั้นมีการถ่างช่วงการคิดภาษีออกซึ่งช่วงที่ถ่างออกจะทำำให้เราเสียภาษีในจำนวนที่ลดลง ขออนุญาตนำรูปมากจาก “บล็อกภาษีข้างถนน” (http://tax.bugnoms.com/) เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นนะครับ เช่น รายได้สุทธิ 150,001-500,000 บาท ของเดิมเสียภาษีทั้งก้อนของเงินในช่วงนี้อยู่ 10% แต่อัตราใหม่ มีการแบ่งช่วง 150,001-300,000 บาท เสียภาษี แค่ 5% และที่เหลือในช่วงเสีย 10% ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลของมนุษย์เงินเดือนรวมถึงคนทำเงินเดือนอย่างข้าพเจ้า 🙂 เป็นต้นว่าเมื่อไหร่เจ้าอัตราภาษีใหม่นี้จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เพราะดูเหมือนว่าความล่าช้าอันนี้มีแต่ก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ถ้าประกาศทันใช้ กรมสรรพกรก็คงทำงานหนักทีเดียวกับการขอคืนภาษีในช่วงยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 […]