มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560

กรมสรรพากรได้ทำการชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ดังนี้   เงินบริจาคมีสิทธิ หักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายทางภาษีได้ 1.5 เท่า สำหรับการบริจาคระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2560 โดยสามารถนำจำนวนเงินที่บริจาคไปหักลดหย่อนในการคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ 1.5 เท่า แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคอื่นแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเพื่อซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับตัวอาคารหรือในที่ดิน อันเป็นที่ตั้งของอาคาร หรือในการซ่อมแซมห้องชุดในอาคารชุดหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้ง ในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย ตามจำนวนที่จ่ายจริง […]

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปลายปี 2559

สิ้นปีกันอีกแล้วนะครับ นอกจากเรื่องการฉลองปีใหม่ที่เราเตรียมไว้สำหรับวันหยุดยาวที่กำลังจะมาถึง มีอีกเรื่องที่ช่วงปีสองปีที่ผ่านมาเป็นประโยชน์กับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ก็คือเรื่องมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางรัฐบาล ผมขอสรุปเป็นข้อ ๆ พร้อมแนบเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ ไว้ให้นะครับ 1. มีหลัก ๆ 2 เรื่อง 3 ช่วงเวลา 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2559 (กฎกระทรวง ฉบับที่ 316)………เรื่องการท่องเที่ยว 1 ธันวาคม – 31 ธันวาคม 2559 (กฎกระทรวง ฉบับที่ 322)……..เรื่องการท่องเที่ยว 14 ธันวาคม – 31 ธันวาคม […]

LTF และ RMF กับประกาศกรมสรรพากรฉบับที่ 257 – 259

เพื่อน ๆ น่าจะได้เห็นหรือได้ข่าวเกี่ยวกับการประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับเรื่อง LTF  และ RMF ซึ่งประกาศใช้ ณ วันที่ 2 กรกฏาคม 2558 ทางทีมงานขอสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้ครับ มีการแก้ไขข้อความ“ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีนั้น” (ฉบับเก่า) เป็น “ ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น” กรมสรรพากรกำหนดคำใหม่ในการการซื้อ LTF และ RMF ให้ชัดเจนเป็น  “ ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น” คราวนี้ก็ชัดเจนแล้วซิครับ เงินอะไรที่เป็นเงินได้พึงเประเมินแต่ถ้าคุณไม่เสียภาษี คุณเอาเป็นฐานคิด LTF ไม่ได้นะครับ ในมุมมองของคนทำเงินเดือน อยากจะเตือนว่าอย่าพลาดนำเงินในส่วนที่ได้รับการยกเว้นต่าง ๆ […]

เงินได้จากค่าย้านถิ่นฐานเข้า/ออก จากบริษัทในประเทศไทย (Relocation Allowance) ของพนักงานต่างชาติเสียภาษีหรือไม่อย่างไร

มีลูกค้าขอคำปรึกษามาบ่อยพอสมควรครับ กรณีที่มีพนักงานชาวต่างชาติจะเดินทางกลับประเทศ แล้วนายจ้างใจดีออกค่าเดินทางให้เช่นค่าตั๋วเครื่องบินรวมถึงค่า Courier ในการขนสัมภาระต่าง ๆ กลับประเทศถิ่นฐานเดิม เงินได้ตรงนี้ต้องนำมารวมคำนวณภาษีหรือไม่ การตอบคำถามนี้ผมขอยกประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา  40(1) และ มาตรา 42(3) มาช่วยในการตัดสินใจนะครับ เงินได้อันนี้ถือเป็นเงินได้ที่ได้จากการจ้างงานนะครับ เพราะฉะนั้นต้องนำมาคำนวณภาษีครับ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 42 มีการกล่าวถึง เงินได้พึงประเมินบางประเภทที่ไม่ต้องนำมาคิดภาษีครับ ซึ่งมาตรา 42(3) กล่าวดังนี้ครับ   “เงินค่าเดินทางซี่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงเล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนสิ้นสุดลง” ตรงนี้ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่คำว่ากลับถิ่นเดิมนะครับ ถ้าให้ถูกจริง ๆ ก็ยึดตามหน้า Passport นะครับ คนชาติไหนกลับถึิ่นเดิมก็คือกลับไปที่ประเทศนั้น ๆ ครับ และที่สำคัญต้องดูด้วยว่าการจะได้สิทธิ์นี้ระยะเวลาการจ้างงานของทั้งสองครั้งต้องมากกว่า […]

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 2

บทความที่แล้วเราเห็นภาพแล้วนะครับว่าเงินที่ได้จากกองทุนเมื่อเราออกจากกองทุนก็จะมีทั้งหมด 4 ส่วนนะครับ ส่วนที่นำมารวมคิดภาษีนั้นก็คือส่วนที่ (2) ถึง (4) ครับ คราวนี้ถ้าเกิดเราไม่ได้เกษียณอายุ แล้วอยากนำเงินก้อนนี้ออกมาใช้เราจะจัดการอย่างไรเพื่อให้มีภาระภาษีน้อยที่สุด ผมขอแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ครับ ซึ่งแต่ละกรณีขึ้นกับอายุงานของท่านทั้งหลายครับ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 1

สวัสดีครับ ครั้งที่แล้วได้แชร์ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คงจะทราบแล้วนะครับว่ามีพนักงานเพียงท่านเดียว นายจ้างก็สามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นะครับ คราวนี้มาดูอีกคำถามที่พบบ่อยคือ เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องนำมาเป็นเงินได้พึงประเมินในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ครับ การที่จะตอบคำถามนี้ได้ต้องเข้าใจ 2 เรื่องครับ 1) เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิก 2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เงินอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินที่เกี่ยวข้องก็จะมี 4 ส่วนนะครับ 1) เงินสะสม (ลูกจ้างสะสม) 2) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 1) ไปลงทุน 3) เงินสมทบ (นายจ้างสมทบ) 4) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 3) ไปลงทุน   เงินส่วนที่ 1) และ 2) ปกติพนักงานได้อยู่แล้วนะครับ […]

Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) พนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจัดตั้งได้

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คำถามที่ผมมักได้ยินบ่อย ๆ คือ ต้องมีจำนวนพนักงานขั้นต่ำกี่คน บริษัทจึงสามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้  ก่อนจะไปถึงตรงนั้นผมขออธิบายคร่าว ๆ นะครับเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบครับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม“และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ “ (ลูกจ้างออมเงินเท่าไร นายจ้างช่วยเติมเงินให้ในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายเสมอ)  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “ หลักการในการสะสมและสมทบเงิน เงินสะสมของลูกจ้าง เป็นเงินที่ลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหักจากค่าจ้างสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง เงินสมทบของนายจ้าง เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก โดยอัตราสมทบต้องไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้างบางบริษัทใช้เรื่องของกองทุนในการรักษาพนักงานไว้กับบริษัทโดยการกำหนดเวลาการทำงานขั้นต่ำที่ต้องอยู่กับบริษัทเพื่อให้ได้เงินสมทบในส่วนของนายจ้าง โดยทั่วไปที่พบคือต้องอยู่ครบ 5 ปี (อันนี้แล้วแต่กองทุนนะครับ) ปล. ข้อบังคับกองทุนอาจระบุถึงเหตุที่จะทำให้สมาชิกหมดสิทธิได้รับเงินสมทบและผลตอบแทนจากเงินสมทบได้ด้วย […]

ภาษี: ค่าลดหย่อนบุตร

สวัสดีครับ เมื่อครั้งที่แล้วเราว่ากันเรื่องค่าลดหย่อนคู่สมรส ครั้งนี้ผมขอต่อด้วยค่าลดหย่อนบุตรนะครับ รายละเอียดก็ตามรูปข้างล่างเลยนะครับ ผมแค่อยากจะเน้นในส่วนของเงื่อนไขอื่น ๆ ที่หลายท่านมักจะสงสัยนะครับ เช่น ลูกเรียนจบมหาลัยแล้ว (อายุ เกิน 20 แต่ยังไม่เกิน 25 ปี) ยังสามารถลดหย่อนได้หรือไม่ อันนี้ก็ต้องตอบเลยว่า “ไม่ได้” นะครับ เพราะเงื่อนไขคือ ถ้าไม่ใช่ผู้เยาว์แล้ว บุตรต้องศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไปถึงลดหย่อนได้ครับ ในกรณีเดียวกันหากบุตรเรียนต่อโท คำตอบก็จะเปลี่ยนไปนะครับ คือนำมาลดหย่อนได้ อีกประเด็นที่อยากจะย้ำคือ คำว่าระดับอุดมศึกษาคือ สูงกว่าระดับมัธยมนะครับ ในที่นี้ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ สูงกว่า ม.6 ครับ ดังนั้น บุตรซึ่งไม่ใช่ผู้เยาว์แล้ว ศึกษาในระดับ ปวช ก็ไม่สามารถนำมาลดหย่อนได้นะครับ เพราะระดับปวช […]

ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา-ลดหย่อนคู่สมรส

สวัสดีครับ นี้ก็ปาไปเกินครึ่งปีแล้วนะครับ ดังนั้นเรามาเตรียมวางแผนภาษีเราก็ดีนะครับ ยิ่งใครที่ได้โบนัสกลางปีมา ก็คงพอกะคร่าว ๆ ได้ว่าเราจะบริหารจัดการกับเงินภาษีกันได้อย่างไร เช่นการซื้อประกันชีวิต หรือกองทุน LTF เพื่อเพิ่มค่าลดหย่อน ทำให้เราเสียภาษีน้อยลง ตอนนี้เป็นต้นไปผมจะลงรายละเอียดค่าลดหย่อนแต่ละตัวนะครับ อ่านสนุก ๆ เป็นความารู้ แล้วถ้าจะดีกว่านั้นก็ลองวางแผนภาษีของเราเองนะครับ แทนที่จะเสียเงินภาษีไปเปล่า ๆ ถ้าเราโยกเงินก้อนที่ได้มาไปก่อให้เกิดประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม แถมลดภาษีได้ด้วย ก็ดีมิใช่น้อย 1) ค่าลดหย่อนคู่สมรส (Spouse Allowance): 30,000 บาท ค่าลดหย่อนตัวแรกที่จะพูดถึงคือค่าลดหย่อนภาษีเนื่องจากคู่สมรสครับ อันนี้ต้องเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฏหมายนะครับ นั่นก็คือต้องมีการจดทะเบียน อย่าคิดว่ากรมสรรพากรเค้าไม่ตรวจสอบนะครับ พวกค่าลดหย่อน ระหว่างปีอาจหลับหูหลับตาใส่ไปได้ แต่ตอนยื่น ภงด.90 หรือ ภงด.91 ตอนสิ้นปีใส่ตามจริงนะครับ โดนย้อนหลังไม่คุ้มครับ […]

องค์ประกอบของค่าจ้าง

สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าหลายท่านเคยมีคำถามครับว่าในการคิดค่าล่วงเวลานั้น ต้องเอาฐานรายได้อะไรบ้างมาคำนวน การที่จะตอบคำถามตรงนี้ได้ต้องเข้าใจคำว่าค่าจ้างในมุมมองของทางแรงงานก่อนครับ ค่าจ้างโดยนิยามหมายถึง “เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติและให้หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน”  ทั้งนี้รายได้อื่นถึงแม้จะมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่ถ้าตีความออกมาแล้วว่าเป็นค่าจ้าง ก็ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดเงินค่าล่วงเวลานะครับ เช่น นายจ้างให้เงินค่าครองชีพพนักงานโดยมีการจ่ายพนักงานเป็นประจำทุกเดือน และมีจำนวนที่แน่นอน เงินอันนี้จึงถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้าง ที่มักจะมีข้อถกเถึยงกันก็ตอนคิดค่าล่วงเวลา หรือตอนจ่ายค่าชดเชยว่าตกลงเงินได้ประเภทใดต้องนำมาเป็นฐานในการคิด ในส่วนของนายจ้างก็อยากจะตัดเงินได้บางประเภทออก เพราะจะทำให้จ่ายเงินค่าล่วงเวลาพนักงานหรือค่าชดเชยน้อยลงในขณะที่ลูกจ้างก็มองอีกมุมครับ ผมขอแชร์หลักการตามรูปข้างล่างนะครับ อย่างไรก็ลองศึกษาคำพิพากษาฏีกาเกี่ยวกับเรื่องคำ่จ้างก็จะทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นครับ ครั้งหน้าเรามาดูเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการกันครับ