PAYROLL

Black Calculator Near Ballpoint Pen on White Printed Paper

เงินได้จากค่าย้านถิ่นฐานเข้า/ออก จากบริษัทในประเทศไทย (Relocation Allowance) ของพนักงานต่างชาติเสียภาษีหรือไม่อย่างไร

มีลูกค้าขอคำปรึกษามาบ่อยพอสมควรครับ กรณีที่มีพนักงานชาวต่างชาติจะเดินทางกลับประเทศ แล้วนายจ้างใจดีออกค่าเดินทางให้เช่นค่าตั๋วเครื่องบินรวมถึงค่า Courier ในการขนสัมภาระต่าง ๆ กลับประเทศถิ่นฐานเดิม เงินได้ตรงนี้ต้องนำมารวมคำนวณภาษีหรือไม่ การตอบคำถามนี้ผมขอยกประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา  40(1) และ มาตรา 42(3) มาช่วยในการตัดสินใจนะครับ เงินได้อันนี้ถือเป็นเงินได้ที่ได้จากการจ้างงานนะครับ เพราะฉะนั้นต้องนำมาคำนวณภาษีครับ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 42 มีการกล่าวถึง เงินได้พึงประเมินบางประเภทที่ไม่ต้องนำมาคิดภาษีครับ ซึ่งมาตรา 42(3) กล่าวดังนี้ครับ   “เงินค่าเดินทางซี่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงเล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนสิ้นสุดลง” ตรงนี้ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่คำว่ากลับถิ่นเดิมนะครับ ถ้าให้ถูกจริง ๆ ก็ยึดตามหน้า Passport นะครับ คนชาติไหนกลับถึิ่นเดิมก็คือกลับไปที่ประเทศนั้น ๆ ครับ และที่สำคัญต้องดูด้วยว่าการจะได้สิทธิ์นี้ระยะเวลาการจ้างงานของทั้งสองครั้งต้องมากกว่า 365 วันนะครับ (ดูวันจากสัญญาจ้างงาน) ดังนั้นในกรณีนี้ ถ้าเป็นการจ้างงานในประเทศไทยครั้งแรกของ Expat ท่านนี้ เงิน Relocation Allowance สำหรับการเดินทางกลับถิ่นฐานเดิม ของเค้าก็ไม่ต้องนำมารวมคิดภาษีนะครับ .  

เงินได้จากค่าย้านถิ่นฐานเข้า/ออก จากบริษัทในประเทศไทย (Relocation Allowance) ของพนักงานต่างชาติเสียภาษีหรือไม่อย่างไร Read More »

Man in White Dress Shirt Holding Black Smartphone

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 2

บทความที่แล้วเราเห็นภาพแล้วนะครับว่าเงินที่ได้จากกองทุนเมื่อเราออกจากกองทุนก็จะมีทั้งหมด 4 ส่วนนะครับ ส่วนที่นำมารวมคิดภาษีนั้นก็คือส่วนที่ (2) ถึง (4) ครับ คราวนี้ถ้าเกิดเราไม่ได้เกษียณอายุ แล้วอยากนำเงินก้อนนี้ออกมาใช้เราจะจัดการอย่างไรเพื่อให้มีภาระภาษีน้อยที่สุด ผมขอแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ครับ ซึ่งแต่ละกรณีขึ้นกับอายุงานของท่านทั้งหลายครับ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 2 Read More »

Woman Writing on a Notebook Beside Teacup and Tablet Computer

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 1

สวัสดีครับ ครั้งที่แล้วได้แชร์ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คงจะทราบแล้วนะครับว่ามีพนักงานเพียงท่านเดียว นายจ้างก็สามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นะครับ คราวนี้มาดูอีกคำถามที่พบบ่อยคือ เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องนำมาเป็นเงินได้พึงประเมินในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ครับ การที่จะตอบคำถามนี้ได้ต้องเข้าใจ 2 เรื่องครับ 1) เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิก 2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เงินอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินที่เกี่ยวข้องก็จะมี 4 ส่วนนะครับ 1) เงินสะสม (ลูกจ้างสะสม) 2) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 1) ไปลงทุน 3) เงินสมทบ (นายจ้างสมทบ) 4) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 3) ไปลงทุน   เงินส่วนที่ 1) และ 2) ปกติพนักงานได้อยู่แล้วนะครับ ถึงแม้พนักงานจะโดนเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความเสียหายให้นายจ้างก็ตาม ส่วนเงินก้อนที่ 3) และ 4) นั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกองทุนครับ เอาเป็นว่าสมมุติได้เงินมา M บาทนะครับ ในกรณีปกติเงินที่เราต้องมารวมคิดภาษีคือเงินก้อนที่ (2), (3) และ (4) [M-(1)]

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 1 Read More »

Silhouette Photography of Group of People Jumping during Golden Time

Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) พนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจัดตั้งได้

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คำถามที่ผมมักได้ยินบ่อย ๆ คือ ต้องมีจำนวนพนักงานขั้นต่ำกี่คน บริษัทจึงสามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้  ก่อนจะไปถึงตรงนั้นผมขออธิบายคร่าว ๆ นะครับเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบครับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม“และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ “ (ลูกจ้างออมเงินเท่าไร นายจ้างช่วยเติมเงินให้ในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายเสมอ)  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “ หลักการในการสะสมและสมทบเงิน เงินสะสมของลูกจ้าง เป็นเงินที่ลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหักจากค่าจ้างสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง เงินสมทบของนายจ้าง เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก โดยอัตราสมทบต้องไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้างบางบริษัทใช้เรื่องของกองทุนในการรักษาพนักงานไว้กับบริษัทโดยการกำหนดเวลาการทำงานขั้นต่ำที่ต้องอยู่กับบริษัทเพื่อให้ได้เงินสมทบในส่วนของนายจ้าง โดยทั่วไปที่พบคือต้องอยู่ครบ 5 ปี (อันนี้แล้วแต่กองทุนนะครับ) ปล. ข้อบังคับกองทุนอาจระบุถึงเหตุที่จะทำให้สมาชิกหมดสิทธิได้รับเงินสมทบและผลตอบแทนจากเงินสมทบได้ด้วย เช่น การลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน  การที่ลูกจ้างทุจริตต่อนายจ้าง  หรือทำให้นายจ้างเสียหายด้วยความจงใจหรือด้วยความประมาทเลินเล่อ กลับมาถึงคำถามว่า จำเป็นต้องมีพนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจะตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นมาได้ ก็ตอบได้เลยว่าพนักงานขั้นต่ำเพียง 1 ท่านก็ตั้งกองทุนได้แล้วครับโดยอ้างอิงจากมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 “มาตรา 5

Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) พนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจัดตั้งได้ Read More »

Woman Writing on a Notebook Beside Teacup and Tablet Computer

องค์ประกอบของค่าจ้าง

สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าหลายท่านเคยมีคำถามครับว่าในการคิดค่าล่วงเวลานั้น ต้องเอาฐานรายได้อะไรบ้างมาคำนวน การที่จะตอบคำถามตรงนี้ได้ต้องเข้าใจคำว่าค่าจ้างในมุมมองของทางแรงงานก่อนครับ ค่าจ้างโดยนิยามหมายถึง “เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติและให้หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน”  ทั้งนี้รายได้อื่นถึงแม้จะมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่ถ้าตีความออกมาแล้วว่าเป็นค่าจ้าง ก็ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดเงินค่าล่วงเวลานะครับ เช่น นายจ้างให้เงินค่าครองชีพพนักงานโดยมีการจ่ายพนักงานเป็นประจำทุกเดือน และมีจำนวนที่แน่นอน เงินอันนี้จึงถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้าง ที่มักจะมีข้อถกเถึยงกันก็ตอนคิดค่าล่วงเวลา หรือตอนจ่ายค่าชดเชยว่าตกลงเงินได้ประเภทใดต้องนำมาเป็นฐานในการคิด ในส่วนของนายจ้างก็อยากจะตัดเงินได้บางประเภทออก เพราะจะทำให้จ่ายเงินค่าล่วงเวลาพนักงานหรือค่าชดเชยน้อยลงในขณะที่ลูกจ้างก็มองอีกมุมครับ ผมขอแชร์หลักการตามรูปข้างล่างนะครับ อย่างไรก็ลองศึกษาคำพิพากษาฏีกาเกี่ยวกับเรื่องคำ่จ้างก็จะทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นครับ ครั้งหน้าเรามาดูเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการกันครับ

องค์ประกอบของค่าจ้าง Read More »

การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)

ขณะที่เขียนข้อมความนี้ตัวผมเองก็กำลังลุ้นให้ทางรัฐบาลออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2556 ก่อนปิดประชุมสภาในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ยังไงก็แอบใจชื้นเล็ก ๆ เมื่อทางกระทรวงคลังเตรียมแผนสำรองในการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแทนที่จะเป็นพระราชบัญญัติ http://www.thaipost.net/news/190913/79514 ผมคำนวณดูแล้วพนักงานที่เงินเดือนเยอะ ๆ บางที ภาษีต่างกัน 50 – 60% ก็มีครับ วันนี้ก็เลยนึกอยากจะแชร์การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ท่าน ๆ ได้ดูกัน เพราะเป็นความรู้พื้นฐานที่ต้องรู้เพื่อรักษาสิทธิ์ประโยชน์ของเราเอง และก็เป็นการปูพื้นฐานก่อนที่ผมจะเล่าสู่การฟังในเรื่องของการคิดภาษี กรณีบริษัทออกให้ หรือที่ท่าน ๆ เรียกกันว่า Tax on Tax Calculation หรือ Net Benefit อะไรประมาณนี้ครับ ผมสรุปมาให้ดังรูปข้างล่างนะครับ   ตัวอย่าง  ถ้าผมเองมีรายได้พึงประเมิณหลังจากหักค่าลดหย่อนแล้ว 350,000 บาท ผมจะต้องเสียภาษีดังนี้ครับ ผมขออนุญาตใ้ช้อัตราใหม่นะครับ แบ่งเงินเป็นก้อน ๆ ตามอัตราภาษี ในตอนนี้ ผมก็จะมีเงิน 3 ก้อน สำหรับการคิดภาษีถูกไหมครับ ซึ่งแต่ละก้อนก็จะมีอัตราภาษีที่ต่างกันดังนี้ครับ ก้อนแรก อยู่ในขั้น       0 –

การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1) Read More »

ค่าลดหย่อนภาษีจากบุตรของฝ่ายชายกรณีสมรสไม่จดทะเบียน

ในช่วงที่ผมทำการนำพนักงานใหม่เข้าระบบ payroll ของทางบริษัท สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าอักขระความถูกต้องของตัวอักษร หรือเลขที่บัญชี ก็คือข้อมูลการลดหย่อนภาษี ผมมักจะถูกถามเสมอครับว่าการที่พนักงานฝ่ายชาย เลือกสถานะการสมรสว่า “สมรสไม่จดทะเบียน” แล้วใส่ข้อมูลว่ามีบุตรกำลังศึกษาอยู่ ในกรณีนี้ฝ่ายชายสามารถนำบุตรมาหักลดหย่อยภาษีได้หรือไม่ เหมือนเดิมครับผมข้ออ้างอิงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการตอบคำถามข้อนี้ดังนี้ครับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และ 1547 บัญญัติไว้ว่า—- มาตรา 1546  เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น มาตรา 1547 บัญญัติว่า ” เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้มีการสมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง  หรือ  บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร น่าจะชัดแล้วนะครับ มาตรา 1546 ให้คำตอบเราได้ชัดเลยครับว่า ฝ่ายชายนั้นไม่มีสิทธิ์จะนำบุตรไปลดหย่อนภาษี ในกรณีสมรสไม่จดทะเบียนนะครับ (เพราะถือว่าไม่ได้เป็นบุตรที่ชอบธรรมโดยกฎหมายครับ) ยกเว้น….ดูมาตรา 1547 กันต่อคับ …จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ มีการจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนรับรองการเป็นบุตร….อันนี้ก็ต่างกับฝ่ายหญิงนะครับ ถึงแม้สมรสไม่จดทะเบียนก็สามารถนำบุตรมาหักลดหย่อนภาษีได้ครับ 🙂 ส่วนการลดหย่อนบุตรได้ 15,000 หรือ 17,000 บาท (กรณีบุึตรศึกษาอยู่) สามารถหารายละเีอียดได้ที่ link ของกรมสรรพากรครับ http://www.rd.go.th/publish/557.0.html

ค่าลดหย่อนภาษีจากบุตรของฝ่ายชายกรณีสมรสไม่จดทะเบียน Read More »

การคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีทำงานไม่เต็มเดือน (Prorated Salary)

มีพนักงานหลายท่านทีเดียวครับ โทรมาสอบถามว่าในการคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีที่พนักงานไม่ได้เริ่มงานต้นเดือนเวลาคิดเงินเดือนนั้นตัวหารที่ใช้เนี้ย ถ้าให้ถูกต้องจริง ๆ ต้องหารด้วยจำนวนวันจริง ๆ ในเดือนนั้นหรือหารด้วย 30 เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ผมขอนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 68 มาเป็นบทเทียบเคียงนะครับ มาตรา 68: เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้่างต่อชั่วโมงในวันทำงานหมายถึงค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย เช่นสมมุติว่านางสาวเกรซเริ่มงานที่บริษัท Together ในวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ด้วยเงินเืดือนที่ระบุในสัญญาจ้างคือ 30,000 บาทต่อเดือน และบริษัทให้ค่าสึกหรอรถยนต์ รวมถึงค่าโทรศัพท์ เป็นจำนวนเงิน 9,000 และ 500 บาท ตามลำดับ การที่จะหาเงินได้ก่อนหักค่านู้นนี่ (เงินสมทบประกันสังคม, ภาษีเงินได้ และค่าอื่น  ๆ ) ตัวที่จะนำมาคูณก็คือ จำนวนวันทำงานทั้งหมดในเดือนสิงหาคมหารด้วย 30 ซึ่งในกรณีนี้จะเท่ากับ 27/30 ดังนั้นนางสาวเกรซจะมีเงินเืดือน 27,000 บาท, ค่าสึกหรอรถ 8,100 บาท และค่าโทรศัพท์ 450 บาท

การคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีทำงานไม่เต็มเดือน (Prorated Salary) Read More »

ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องร้อนทีเดียวครับ (ร้อนมาสักพักใหญ่ละ ยังไม่สรุปสักที) เกี่ยวกับอัตราภาษีที่จะใช้ในปีภาษี 2556 ในแง่มุมของประโยชน์ของอัตราใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือนรวมถึงที่มาที่ไปกว่าจะได้อัตราคำนวณใหม่นั้นในแง่การบัญญัติกฎหมายเค้าทำกันอย่างไรครับ เป็นเรื่องที่น่าดีใจเมื่อได้ยินเรื่องการปรับตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2556 (ยื่นภายใน 31 มีนาคม2557) เนื่องจากอัตราภาษีใหม่นั้นมีการถ่างช่วงการคิดภาษีออกซึ่งช่วงที่ถ่างออกจะทำำให้เราเสียภาษีในจำนวนที่ลดลง ขออนุญาตนำรูปมากจาก “บล็อกภาษีข้างถนน” (http://tax.bugnoms.com/) เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นนะครับ เช่น รายได้สุทธิ 150,001-500,000 บาท ของเดิมเสียภาษีทั้งก้อนของเงินในช่วงนี้อยู่ 10% แต่อัตราใหม่ มีการแบ่งช่วง 150,001-300,000 บาท เสียภาษี แค่ 5% และที่เหลือในช่วงเสีย 10% ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลของมนุษย์เงินเดือนรวมถึงคนทำเงินเดือนอย่างข้าพเจ้า 🙂 เป็นต้นว่าเมื่อไหร่เจ้าอัตราภาษีใหม่นี้จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เพราะดูเหมือนว่าความล่าช้าอันนี้มีแต่ก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ถ้าประกาศทันใช้ กรมสรรพกรก็คงทำงานหนักทีเดียวกับการขอคืนภาษีในช่วงยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ประจำปีเนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ยังหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยใช้อัตราเก่าอยู่ ในขณะเดียวกันผมมั่นใจว่ามีหลายบริษัทที่หลงทิศทางไปใช้อัตราใหม่ไปแล้ว หากประกาศไม่ทันใช้ในปีภาษี 2556 ….นึกไม่ออกจริง ๆ ว่าผู้บริหารทั้งหลายที่เงินเดือนเยอะ ๆ แล้วใช้อัตราภาษีใหม่ไปแล้ว แต่สุดท้ายประกาศใช้ไม่ทันจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มอีกเท่าไหร่ 🙁 ความรู้ที่ต้องการมาเล่าสนุก ๆ

ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556 Read More »

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (3)

มาว่ากันต่อในเรื่องสิทธิประโยชน์ของการเป็นผู้ประกันตนกับระบบประกันสังคมของประเทศไทยกันต่อครับ ในมุมของผมเองและลูกจ้างทั้งหลาย เราค่อนข้างคุ้นกับกองทุนประกันสังคมนะครับ ถ้าให้ชัด ๆ ก็คือเงินที่เราต้องจ่ายสมทบทุกเดือน (ฐานเงินเดือนที่ใช้คิดก็คือ 1,650 – 15,000 บาท)  ปี 2556 นี้ผู้ประกันตนและนายจ้างต้องจ่ายสบทบฝ่ายละ 4% ครับ ในส่วนของกองทุนทดแทนเรา  ๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นกันครับจนกว่าจะเกิดเรื่องขึ้นมา เงินกองทุนทดแทนนั้น เป็นเงินที่ทางนายจ้างต้องจ่ายสมทบให้กับกองทุนเงินทดแทนมากน้อยตามความเสี่ยงของธุรกิจ  (ลูกจ้างไม่ต้องสมทบนะครับ) ขอระบุให้ชัด ๆ นิดนึงครับว่าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 นะครับ มาตรา 40 ไว้มีโอกาสผมจะมา touch base ให้อีกทีครับ เห็นเค้าใช้กันแล้วดูดีครับ 555 คำว่า touch base แปลว่าอะไรผมก็ไม่รู้นะครับ ส่วนความแตกต่างของผู้ประกันตนของแต่ละมาตราสามารถดูรายละเอียดจากลิงค์ของผู้รู้ท่านอื่นที่ผมจะแนบไว้ให้ครับ ผมเจอสรุปที่ทางประกันสังคมทำไว้แล้วครับ ขออนุญาตแชร์เลยนะครับ แต่นิดนึงนะครับ ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะไม่มีสิทธิ์ได้รับสิทธิ์ในเรื่องการว่างงานนะครับ จะเห็นว่านอกจากผลประโยชน์ที่จะได้จะเป็นเรื่องที่สำคัญ อีกเรื่องที่สำคัญคือเงื่อนไขเพื่อให้ได้สิทธิ์ประโยชน์นั้น ๆ ครับ เช่น การที่จะได้รับสิทธิ์การค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ผู้ประกันตนนั้นต้องจ่ายเงินสมทบ

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (3) Read More »

Scroll to Top