Black Calculator Near Ballpoint Pen on White Printed Paper

เงินได้จากค่าย้านถิ่นฐานเข้า/ออก จากบริษัทในประเทศไทย (Relocation Allowance) ของพนักงานต่างชาติเสียภาษีหรือไม่อย่างไร

มีลูกค้าขอคำปรึกษามาบ่อยพอสมควรครับ กรณีที่มีพนักงานชาวต่างชาติจะเดินทางกลับประเทศ แล้วนายจ้างใจดีออกค่าเดินทางให้เช่นค่าตั๋วเครื่องบินรวมถึงค่า Courier ในการขนสัมภาระต่าง ๆ กลับประเทศถิ่นฐานเดิม เงินได้ตรงนี้ต้องนำมารวมคำนวณภาษีหรือไม่ การตอบคำถามนี้ผมขอยกประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา  40(1) และ มาตรา 42(3) มาช่วยในการตัดสินใจนะครับ เงินได้อันนี้ถือเป็นเงินได้ที่ได้จากการจ้างงานนะครับ เพราะฉะนั้นต้องนำมาคำนวณภาษีครับ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 42 มีการกล่าวถึง เงินได้พึงประเมินบางประเภทที่ไม่ต้องนำมาคิดภาษีครับ ซึ่งมาตรา 42(3) กล่าวดังนี้ครับ   “เงินค่าเดินทางซี่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงเล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนสิ้นสุดลง” ตรงนี้ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่คำว่ากลับถิ่นเดิมนะครับ ถ้าให้ถูกจริง ๆ ก็ยึดตามหน้า Passport นะครับ คนชาติไหนกลับถึิ่นเดิมก็คือกลับไปที่ประเทศนั้น ๆ ครับ และที่สำคัญต้องดูด้วยว่าการจะได้สิทธิ์นี้ระยะเวลาการจ้างงานของทั้งสองครั้งต้องมากกว่า 365 วันนะครับ (ดูวันจากสัญญาจ้างงาน) ดังนั้นในกรณีนี้ ถ้าเป็นการจ้างงานในประเทศไทยครั้งแรกของ Expat ท่านนี้ เงิน Relocation Allowance สำหรับการเดินทางกลับถิ่นฐานเดิม ของเค้าก็ไม่ต้องนำมารวมคิดภาษีนะครับ .  

เงินได้จากค่าย้านถิ่นฐานเข้า/ออก จากบริษัทในประเทศไทย (Relocation Allowance) ของพนักงานต่างชาติเสียภาษีหรือไม่อย่างไร Read More »

Man in White Dress Shirt Holding Black Smartphone

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 2

บทความที่แล้วเราเห็นภาพแล้วนะครับว่าเงินที่ได้จากกองทุนเมื่อเราออกจากกองทุนก็จะมีทั้งหมด 4 ส่วนนะครับ ส่วนที่นำมารวมคิดภาษีนั้นก็คือส่วนที่ (2) ถึง (4) ครับ คราวนี้ถ้าเกิดเราไม่ได้เกษียณอายุ แล้วอยากนำเงินก้อนนี้ออกมาใช้เราจะจัดการอย่างไรเพื่อให้มีภาระภาษีน้อยที่สุด ผมขอแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ครับ ซึ่งแต่ละกรณีขึ้นกับอายุงานของท่านทั้งหลายครับ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 2 Read More »

Woman Writing on a Notebook Beside Teacup and Tablet Computer

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 1

สวัสดีครับ ครั้งที่แล้วได้แชร์ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คงจะทราบแล้วนะครับว่ามีพนักงานเพียงท่านเดียว นายจ้างก็สามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นะครับ คราวนี้มาดูอีกคำถามที่พบบ่อยคือ เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องนำมาเป็นเงินได้พึงประเมินในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ครับ การที่จะตอบคำถามนี้ได้ต้องเข้าใจ 2 เรื่องครับ 1) เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิก 2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เงินอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินที่เกี่ยวข้องก็จะมี 4 ส่วนนะครับ 1) เงินสะสม (ลูกจ้างสะสม) 2) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 1) ไปลงทุน 3) เงินสมทบ (นายจ้างสมทบ) 4) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 3) ไปลงทุน   เงินส่วนที่ 1) และ 2) ปกติพนักงานได้อยู่แล้วนะครับ ถึงแม้พนักงานจะโดนเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความเสียหายให้นายจ้างก็ตาม ส่วนเงินก้อนที่ 3) และ 4) นั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกองทุนครับ เอาเป็นว่าสมมุติได้เงินมา M บาทนะครับ ในกรณีปกติเงินที่เราต้องมารวมคิดภาษีคือเงินก้อนที่ (2), (3) และ (4) [M-(1)]

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 1 Read More »

Silhouette Photography of Group of People Jumping during Golden Time

Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) พนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจัดตั้งได้

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คำถามที่ผมมักได้ยินบ่อย ๆ คือ ต้องมีจำนวนพนักงานขั้นต่ำกี่คน บริษัทจึงสามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้  ก่อนจะไปถึงตรงนั้นผมขออธิบายคร่าว ๆ นะครับเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบครับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม“และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ “ (ลูกจ้างออมเงินเท่าไร นายจ้างช่วยเติมเงินให้ในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายเสมอ)  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “ หลักการในการสะสมและสมทบเงิน เงินสะสมของลูกจ้าง เป็นเงินที่ลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหักจากค่าจ้างสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง เงินสมทบของนายจ้าง เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก โดยอัตราสมทบต้องไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้างบางบริษัทใช้เรื่องของกองทุนในการรักษาพนักงานไว้กับบริษัทโดยการกำหนดเวลาการทำงานขั้นต่ำที่ต้องอยู่กับบริษัทเพื่อให้ได้เงินสมทบในส่วนของนายจ้าง โดยทั่วไปที่พบคือต้องอยู่ครบ 5 ปี (อันนี้แล้วแต่กองทุนนะครับ) ปล. ข้อบังคับกองทุนอาจระบุถึงเหตุที่จะทำให้สมาชิกหมดสิทธิได้รับเงินสมทบและผลตอบแทนจากเงินสมทบได้ด้วย เช่น การลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน  การที่ลูกจ้างทุจริตต่อนายจ้าง  หรือทำให้นายจ้างเสียหายด้วยความจงใจหรือด้วยความประมาทเลินเล่อ กลับมาถึงคำถามว่า จำเป็นต้องมีพนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจะตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นมาได้ ก็ตอบได้เลยว่าพนักงานขั้นต่ำเพียง 1 ท่านก็ตั้งกองทุนได้แล้วครับโดยอ้างอิงจากมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 “มาตรา 5

Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) พนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจัดตั้งได้ Read More »

Close-up of Human Hand

หนังสือ 5 เล่มที่ต้องอ่าน สำหรับคนกำลังหางาน!!!

การอ่านช่วยเพิ่มมุมมองให้กับชีวิตเรานะครับ สำหรับผู้ที่กำลังหางาน ผมมีหนังสือแนะนำ 5 เล่มครับ บางเล่มผมเคยได้ยินมาบ้างครับ แต่ก็ยังไม่เคยได้อ่านซักเล่มนะครับ ผมแนบ link ของบทย่อของหนังสือแต่ละเล่มมาให้ด้วยนะครับ มาดูรายชื่อหนังสือกันเลยครับ 1. How To Win Friends and Influence People by Dale Carnegie    หนังสือเล่มนี้้ถึงแม้จะเขียนมากว่า 80 ปีแล้วนะครับ แต่เนื้อหานั้นยังสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้นะครับ ผู้เขียนนั้นให้หลักการไว้ชัดเจนครับ เช่น ทำอย่างไรให้คนชอบเราและทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนนิสัยคนอื่นโดยที่ไม่ทำให้ผู้ผู้นั้นรู้สึกแย่กับเรา 2. What Color Is Your Parachute by Richard Nelson Bolles หนังสือเล่มนี้ให้แนวคิดที่ดีนะครับ ในวิธีที่สวนทางกันระหว่างผู้หางานที่จะหาตำแหน่งงานและบริษัทที่กำลังหาพนักงาน ดังนั้นการเข้าใจวิธีที่บริษัทเค้ามองก็เป็นสิ่งที่ดีกับเราเองครับ 3. Do What You Are by Paul D. Tieger and Barbara Barron-Tieger  หนังสือเล่มนี้ผมหารายละเอียดได้เพียงจาก Amazon.com  ครับ

หนังสือ 5 เล่มที่ต้องอ่าน สำหรับคนกำลังหางาน!!! Read More »

Free stock photo of accountant, accounting, administration

ใบลาออก…ยกเลิกได้หรือไม่

สวัสดีครับ เมื่อไม่นานมานี้ มีเพื่อนเล่าให้ฟังว่า ที่ทำงานของเพื่อนมีพนักงานท่านหนึ่งได้ยื่นใบลาออกไปแล้วโดยยื่นเอกสารถูกต้องตามระเบียบของบริษัท ซึ่งพอหลังจากยื่นแล้วได้มีการคุยกับเพื่อนร่วมงาน แล้วไม่รู้อิท่าไหน พนักงานท่านนี้เกิดเปลี่ยนใจ ไม่อยากออกแล้ว คำถามที่มาถึงผมคือว่า พนักงานท่านนั้นขอยกเลิกใบลาออก ได้หรือไม่   ผมขออ้างถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิ์เลิกสัญญาหรือโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้น ย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่” ดังนั้นคำตอบของคำถามนี้ (ตามหลักกฎหมาย) คือ เมื่อถึงวันที่ระบุว่าเป็นวันทำงานสุดท้ายในจดหมายลาออกนั้น พนักงานท่านนี้ก็ต้องพ้นสภาพการเป็นพนักงานทันทีครับ ที่เราเห็นกันว่า ลูกจ้างยื่นใบลาออกแล้ว เกิดเปลี่ยนใจแล้วก็ยังทำงานอยู่ได้นั้น ต้องบอกว่า นายจ้างเค้าใจดีครับ

ใบลาออก…ยกเลิกได้หรือไม่ Read More »

Person Holding Black Laptop Computer

วิธีรับความเครียดของคนที่ประสบความสำเร็จ (ตอนจบ)

เมื่อตอนที่แล้วได้แชร์ 5 วิธีแรกในการรับความเครียดของคนที่ประสบความสำเร็จ คราวนี้เรามาดูต่อกันเลยครับ (ตอนที่แล้ว: https://www.centricoutsource.com/blog/recruitment/stress_and_performance) 6. หยุดการพูดกับตัวเองในเรื่องที่กำลังเจอในแง่ร้าย ยิ่งครุ่นคิดกับเรื่องร้าย ๆ ที่กำลังเจอ เหมือนเป็นการเพิ่มความรุนแรงกับเรื่องนั้น ถ้าเราดึงสติเรากลับมาได้ทันจะพบว่าความคิดในแง่ร้ายเหล่านั้นเป็นแค่ความคิด บางเรื่องยังไม่เกิดด้วยซ้ำไป 7. เปลี่ยนมุมมองความคิด พยายามตั้งสติแล้วปรับมุมมองความคิดไปในทางบวก การเขียนเรื่องที่เรากังวลออกมาเป็นข้อ ๆ แล้วมาอ่านอีกที ก็เป็นวิธีที่ดี เพราะเหมือนเป็นการกระตุ้นสติ แล้วเราจะพบว่าเรื่องนั้นไม่ได้ร้ายอย่างที่คิด 8. กำหนดลมหายใจ การกำหนดลมหายใจเหมือนเป็นการเปลี่ยนจุดโฟกัสจากความเครียดไปอยู่ที่ลมหายใจ ถ้าใครไม่ถนัดกำหนดลมหายใจ ก็อาจนับลมหายใจเข้าออกก็ได้ 9. คุยกับผู้ที่ยินดีรับฟังสารทุกข์สุกดิบของเรา การได้พูดคุยหรือระบายความกังวลกับผู้ทีพร้อมจะรับฟังเราเสมอนอกจากจะเป็นการช่วยระบายความเครียด เราอาจได้รับคำแนะนำดี ๆ จากเค้าเหล่านั้นด้วย 10.นอนหลับให้เพียงพอ การนอนไม่พอเป็นสาเหตุของการเพิ่มระดับฮอร์โมนของความเครียด การนอนหลับดีๆ สักคืนเหมือนเป็นการชาร์ตแบตให้กับสมองของเรา เพื่อทึ่จะตืนมาพร้อมกับความโล่งสบาย เป็นวิธีจัดการความเครียดที่ผมว่ามีประโยชน์ทีเดียวนะครับ บางทีเราอาจจะทำอยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว บางวิธีใครที่ยังไม่เคยลองก็ไปลองใช้กันดูได้ครับ  

วิธีรับความเครียดของคนที่ประสบความสำเร็จ (ตอนจบ) Read More »

Black Calculator Near Ballpoint Pen on White Printed Paper

วิธีรับความเครียดของคนที่ประสบความสำเร็จ (ตอน 1)

ผมได้อ่านบทความเรื่องนี้ใน Linkedin แล้วเห็นว่ามีประโยชน์เลยนำมาแชร์ให้อ่านกันครับ บทความเรื่องนี้เกี่ยวกับการรับความเครียดของผู้ที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่ทราบกันว่าความเครียดนั้นมีผลเสียกับทั้งร่างกายและจิตใจ ในขณะเดียวกันความเครียดก็ไม่ใช่จะไม่มีประโยชน์ทีเดียวเพราะความเครียดที่เรามีบางทีก็เป็นตัวกระตุ้นให้เราทำงานที่เราตั้งใจให้เสร็จเหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือเราจะจัดการกับความเครียดอย่างไรให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับเรา ในบทความได้พูดถึง 10 วิธีในการรับความเครียด ดังนี้ครับ 1. พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี งานวิจัยจาก University of California สนันสนุนว่าการมีความคิดเช่นนี้จะทำให้ระดับ ฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความเครียดลดลง มีผลทำให้กายและใจพร้อมที่จะทำงานมากขึ้น 2. หลีกเลี่ยงการถามตัวเองว่า “What If” บางทีการตั้งคำถามว่า จะเป็นอย่างไร ถ้า…ก็ทำให้ประสิทธิภาพในการ Focus ทางแก้ปัญหาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งลดลงไปเหมือนกัน เพราะต้องคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นและจะแก้อย่างไรนอีกหลากหลาย Scenarios 3. คิดบวก ความคิดในแง่บวกทำให้ความเครียดขาดช่วงไป ลองคิดถึงความคิดบวกในอดีดหรือในอนาคตที่กำลังจะเกิดก็ได้ครับ 4. อยู่เงียบ ๆ ซักระยะ อันนี้หลักการเดียวกับข้อที่แล้วครับ เป็นการทำให้ความเครียดขาดช่วง มีการศึกษาพบว่า การทีวันหนึ่งมีการกำหนดช่วงเวลาให้หยุดอ่านอีเมล์ (Email Brake) สามารถช่วยลดระดับความเครียดได้ครับ 5. ลดระดับคาเฟอีน การเพิ่มระดับคาเฟอีนมีผลให้เพิ่มระดับอะดรีนาลีน การเพิ่มของอะดรีนาลีนจะทำให้ตัวเราอยู่ในสภาวะ “ไม่สู้ ก็ถอย” (Fight or Flight

วิธีรับความเครียดของคนที่ประสบความสำเร็จ (ตอน 1) Read More »

Man in White Dress Shirt Holding Black Smartphone

สวัสดิการ (Welfare)

ข้อความที่แล้วได้พูดถึงนิยามและองค์ประกอบของคำว่า “ค่าจ้าง” ใจความสำคัญก็คืออะไรที่ถือเป็นค่าจ้างแล้ว ต้องนำไปฐานในการคำนวนเงินบางประเภท เช่นเงินค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด รวมถึงเงินชดเชย นอกจากคำว่าค่าจ้างแล้ว สวัสดิการ (Welfare) ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่เราคุ้นหู  สวัสดิการ คือ การที่นายจ้างจัดหาสิ่งต่าง ๆให้ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือหรือจูงใจ นอกเหนือจากค่าจ้าง เช่น เงินโบนัส, เบี้ยขยัน, ค่านั้ามันรถ และค่าเครื่องแบบเป็นต้น สิ่งที่อยากจะนำมาแชร์ในวันนี้ก็คือ สวัสดิการที่นายจ้างจัดหาให้พวกเรานั้น ถือเป็นสภาพการจ้าง (เงื่อนไขการจ้างระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง) ดังนั้น เมื่อจัดหาให้แล้วไม่สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงในทางลดน้อยถอยลงได้ (ง่าย ๆ) ที่ใส่วงเล็บไปเพราะตามตัวบทกฏหมายเข้าให้เปลี่ยนได้แต่ต้อง 1) นายจ้างหรือลูกจ้างเรียกร้องต่อกัน ตั้งตัวแทนมาเจรจากัน และ 2) ลูกจ้างต้องยินยอม ผมยังพอจำภาพได้ตอนที่เศรษฐกิจไม่ดี แล้วบริษัทนำจดหมายยินยอมมาให้เซ็นเพื่อปรับลดเงินเดือน 🙂 อย่างไรก็ตามในกรณีที่ปรับเปลี่ยนแล้วเป็นคุณกับลูกจ้างสามารถเปลี่ยนได้เลย ดังนั้นในมุมของนายจ้างการกำหนดสวัสดิการควรกำหนดระยะเวลาเช่น ทางบริษัทจะจัดสวัสดิการให้พนักงานในเรื่องรถรับส่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2557 เป็นต้น  

สวัสดิการ (Welfare) Read More »

Woman Writing on a Notebook Beside Teacup and Tablet Computer

องค์ประกอบของค่าจ้าง

สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าหลายท่านเคยมีคำถามครับว่าในการคิดค่าล่วงเวลานั้น ต้องเอาฐานรายได้อะไรบ้างมาคำนวน การที่จะตอบคำถามตรงนี้ได้ต้องเข้าใจคำว่าค่าจ้างในมุมมองของทางแรงงานก่อนครับ ค่าจ้างโดยนิยามหมายถึง “เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติและให้หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน”  ทั้งนี้รายได้อื่นถึงแม้จะมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่ถ้าตีความออกมาแล้วว่าเป็นค่าจ้าง ก็ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดเงินค่าล่วงเวลานะครับ เช่น นายจ้างให้เงินค่าครองชีพพนักงานโดยมีการจ่ายพนักงานเป็นประจำทุกเดือน และมีจำนวนที่แน่นอน เงินอันนี้จึงถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้าง ที่มักจะมีข้อถกเถึยงกันก็ตอนคิดค่าล่วงเวลา หรือตอนจ่ายค่าชดเชยว่าตกลงเงินได้ประเภทใดต้องนำมาเป็นฐานในการคิด ในส่วนของนายจ้างก็อยากจะตัดเงินได้บางประเภทออก เพราะจะทำให้จ่ายเงินค่าล่วงเวลาพนักงานหรือค่าชดเชยน้อยลงในขณะที่ลูกจ้างก็มองอีกมุมครับ ผมขอแชร์หลักการตามรูปข้างล่างนะครับ อย่างไรก็ลองศึกษาคำพิพากษาฏีกาเกี่ยวกับเรื่องคำ่จ้างก็จะทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นครับ ครั้งหน้าเรามาดูเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการกันครับ

องค์ประกอบของค่าจ้าง Read More »

Scroll to Top