Labor Law

จากประสบการณ์ในการทำงานทางด้านการออกเงินเดือนให้พนักงาน (Payroll) พบว่าความรู้หนึ่งที่ต้องมีควบคู่คือความรู้ด้านกฎหมายแรงงาน เช่นพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน, การจ่าค่าชดเชย และการจ่ายค่าแรงในการทำงานล่วงเวลา เป็นต้น ผมจะพยายามนำเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่พบเจอบ่อยจากประสบการณ์ทำงานมาแชร์และเล่าสู่กันฟังครับ

 

เงินได้จากค่าย้านถิ่นฐานเข้า/ออก จากบริษัทในประเทศไทย (Relocation Allowance) ของพนักงานต่างชาติเสียภาษีหรือไม่อย่างไร

มีลูกค้าขอคำปรึกษามาบ่อยพอสมควรครับ กรณีที่มีพนักงานชาวต่างชาติจะเดินทางกลับประเทศ แล้วนายจ้างใจดีออกค่าเดินทางให้เช่นค่าตั๋วเครื่องบินรวมถึงค่า Courier ในการขนสัมภาระต่าง ๆ กลับประเทศถิ่นฐานเดิม เงินได้ตรงนี้ต้องนำมารวมคำนวณภาษีหรือไม่

การตอบคำถามนี้ผมขอยกประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา  40(1) และ มาตรา 42(3) มาช่วยในการตัดสินใจนะครับ เงินได้อันนี้ถือเป็นเงินได้ที่ได้จากการจ้างงานนะครับ เพราะฉะนั้นต้องนำมาคำนวณภาษีครับ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 42 มีการกล่าวถึง เงินได้พึงประเมินบางประเภทที่ไม่ต้องนำมาคิดภาษีครับ ซึ่งมาตรา 42(3) กล่าวดังนี้ครับ

 

“เงินค่าเดินทางซี่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงเล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนสิ้นสุดลง”

ตรงนี้ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่คำว่ากลับถิ่นเดิมนะครับ ถ้าให้ถูกจริง ๆ ก็ยึดตามหน้า Passport นะครับ คนชาติไหนกลับถึิ่นเดิมก็คือกลับไปที่ประเทศนั้น ๆ ครับ และที่สำคัญต้องดูด้วยว่าการจะได้สิทธิ์นี้ระยะเวลาการจ้างงานของทั้งสองครั้งต้องมากกว่า 365 วันนะครับ (ดูวันจากสัญญาจ้างงาน)

ดังนั้นในกรณีนี้ ถ้าเป็นการจ้างงานในประเทศไทยครั้งแรกของ Expat ท่านนี้ เงิน Relocation Allowance สำหรับการเดินทางกลับถิ่นฐานเดิม ของเค้าก็ไม่ต้องนำมารวมคิดภาษีนะครับ

.

 

...Read More »

ใบลาออก...ยกเลิกได้หรือไม่

สวัสดีครับ

เมื่อไม่นานมานี้ มีเพื่อนเล่าให้ฟังว่า ที่ทำงานของเพื่อนมีพนักงานท่านหนึ่งได้ยื่นใบลาออกไปแล้วโดยยื่นเอกสารถูกต้องตามระเบียบของบริษัท ซึ่งพอหลังจากยื่นแล้วได้มีการคุยกับเพื่อนร่วมงาน แล้วไม่รู้อิท่าไหน พนักงานท่านนี้เกิดเปลี่ยนใจ ไม่อยากออกแล้ว คำถามที่มาถึงผมคือว่า พนักงานท่านนั้นขอยกเลิกใบลาออก ได้หรือไม่

 

ผมขออ้างถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิ์เลิกสัญญาหรือโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้น ย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่”

ดังนั้นคำตอบของคำถามนี้ (ตามหลักกฎหมาย) คือ เมื่อถึงวันที่ระบุว่าเป็นวันทำงานสุดท้ายในจดหมายลาออกนั้น พนักงานท่านนี้ก็ต้องพ้นสภาพการเป็นพนักงานทันทีครับ ที่เราเห็นกันว่า ลูกจ้างยื่นใบลาออกแล้ว เกิดเปลี่ยนใจแล้วก็ยังทำงานอยู่ได้นั้น ต้องบอกว่า นายจ้างเค้าใจดีครับ

...Read More »

ภาษี: ค่าลดหย่อนบุตร

สวัสดีครับ เมื่อครั้งที่แล้วเราว่ากันเรื่องค่าลดหย่อนคู่สมรส ครั้งนี้ผมขอต่อด้วยค่าลดหย่อนบุตรนะครับ รายละเอียดก็ตามรูปข้างล่างเลยนะครับ

ค่าลดหย่อนบุตร (Child Allowance)

ผมแค่อยากจะเน้นในส่วนของเงื่อนไขอื่น ๆ ที่หลายท่านมักจะสงสัยนะครับ เช่น ลูกเรียนจบมหาลัยแล้ว (อายุ เกิน 20 แต่ยังไม่เกิน 25 ปี) ยังสามารถลดหย่อนได้หรือไม่ อันนี้ก็ต้องตอบเลยว่า “ไม่ได้” นะครับ เพราะเงื่อนไขคือ ถ้าไม่ใช่ผู้เยาว์แล้ว บุตรต้องศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไปถึงลดหย่อนได้ครับ ในกรณีเดียวกันหากบุตรเรียนต่อโท คำตอบก็จะเปลี่ยนไปนะครับ คือนำมาลดหย่อนได้ อีกประเด็นที่อยากจะย้ำคือ คำว่าระดับอุดมศึกษาคือ สูงกว่าระดับมัธยมนะครับ ในที่นี้ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ สูงกว่า ม.6 ครับ ดังนั้น บุตรซึ่งไม่ใช่ผู้เยาว์แล้ว ศึกษาในระดับ ปวช ก็ไม่สามารถนำมาลดหย่อนได้นะครับ เพราะระดับปวช ก็เหมือนเรียน...Read More »


สวัสดิการ (Welfare)

ข้อความที่แล้วได้พูดถึงนิยามและองค์ประกอบของคำว่า “ค่าจ้าง” ใจความสำคัญก็คืออะไรที่ถือเป็นค่าจ้างแล้ว ต้องนำไปฐานในการคำนวนเงินบางประเภท เช่นเงินค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด รวมถึงเงินชดเชย

นอกจากคำว่าค่าจ้างแล้ว สวัสดิการ (Welfare) ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่เราคุ้นหู  สวัสดิการ คือ การที่นายจ้างจัดหาสิ่งต่าง ๆให้ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือหรือจูงใจ นอกเหนือจากค่าจ้าง เช่น เงินโบนัส, เบี้ยขยัน, ค่านั้ามันรถ และค่าเครื่องแบบเป็นต้น

สิ่งที่อยากจะนำมาแชร์ในวันนี้ก็คือ สวัสดิการที่นายจ้างจัดหาให้พวกเรานั้น ถือเป็นสภาพการจ้าง (เงื่อนไขการจ้างระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง) ดังนั้น เมื่อจัดหาให้แล้วไม่สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงในทางลดน้อยถอยลงได้ (ง่าย ๆ) ที่ใส่วงเล็บไปเพราะตามตัวบทกฏหมายเข้าให้เปลี่ยนได้แต่ต้อง

1) นายจ้างหรือลูกจ้างเรียกร้องต่อกัน ตั้งตัวแทนมาเจรจากัน และ

2) ลูกจ้างต้องยินยอม

ผมยังพอจำภาพได้ตอนที่เศรษฐกิจไม่ดี แล้วบริษัทนำจดหมายยินยอมมาให้เซ็นเพื่อปรับลดเงินเดือน 🙂 อย่างไรก็ตามในกรณีที่ปรับเปลี่ยนแล้วเป็นคุณกับลูกจ้างสามารถเปลี่ยนได้เลย

ดังนั้นในมุมของนายจ้างการกำหนดสวัสดิการควรกำหนดระยะเวลาเช่น ทางบริษัทจะจัดสวัสดิการให้พนักงานในเรื่องรถรับส่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2557 เป็นต้น

Read More »

องค์ประกอบของค่าจ้าง

สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าหลายท่านเคยมีคำถามครับว่าในการคิดค่าล่วงเวลานั้น ต้องเอาฐานรายได้อะไรบ้างมาคำนวน การที่จะตอบคำถามตรงนี้ได้ต้องเข้าใจคำว่าค่าจ้างในมุมมองของทางแรงงานก่อนครับ ค่าจ้างโดยนิยามหมายถึง “เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติและให้หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน” 

ทั้งนี้รายได้อื่นถึงแม้จะมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่ถ้าตีความออกมาแล้วว่าเป็นค่าจ้าง ก็ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดเงินค่าล่วงเวลานะครับ เช่น นายจ้างให้เงินค่าครองชีพพนักงานโดยมีการจ่ายพนักงานเป็นประจำทุกเดือน และมีจำนวนที่แน่นอน เงินอันนี้จึงถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้าง ที่มักจะมีข้อถกเถึยงกันก็ตอนคิดค่าล่วงเวลา หรือตอนจ่ายค่าชดเชยว่าตกลงเงินได้ประเภทใดต้องนำมาเป็นฐานในการคิด ในส่วนของนายจ้างก็อยากจะตัดเงินได้บางประเภทออก เพราะจะทำให้จ่ายเงินค่าล่วงเวลาพนักงานหรือค่าชดเชยน้อยลงในขณะที่ลูกจ้างก็มองอีกมุมครับ ผมขอแชร์หลักการตามรูปข้างล่างนะครับ อย่างไรก็ลองศึกษาคำพิพากษาฏีกาเกี่ยวกับเรื่องคำ่จ้างก็จะทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นครับ ครั้งหน้าเรามาดูเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการกันครับ

องค์ประกอบของค่าจ้าง
...Read More »

หากไม่ได้ทำผิด นายจ้างไม่มีสิทธิ์ “ไล่เราออก” แต่ “เลิกจ้าง” เราได้

เพื่อนที่ทำงานเก่า ได้เล่าเรื่องในสถานที่ทำงานของเค้าให้ฟังว่า มีอยู่วันหนึ่งนายของเค้าได้เรียกพนักงานท่านหนึ่งเข้าไปในห้องแล้วยื่นเอกสารให้ 2 ฉบับ ใช่ครับเป็นอย่างที่ทุกท่านคิดครับ ฉบับแรกคือ จดหมายรับรองการทำงาน ฉบับที่สองคือจดหมายไล่ออก…..พวกเราหากไม่เคยอยู่ในสถานการณ์นี้ และยิ่งหากไม่ได้ศึกษาเรื่องกฎหมายแรงงาน ผมว่าเราตั้งตัวกันไม่ติดเหมือนกันนะครับ ลองมาดูกันครับ เราควรทำอย่างไรหากคน ๆ นั้นเป็นเราเอง

เจ้านายเริ่มพูดว่า ดิฉันก็จ้างคุณมาค่าตัวแพงอยู่นะ แต่ผลงานคุณมันไม่คุ้มกับเงินที่บริษัทเราจ้างคุณจริง ๆ คุณไม่เหมาะกับงานอย่างนู้นอย่างนี้ บลา บลา บลา ดังนั้นคุณเลือกเอารึกันว่าจะลาออกเองแล้วบริษัทจะให้ใบผ่านงาน หรือจะให้บริษัทไล่คุณออก แล้วเสียประวัติการทำงาน โดยสรุปพนักงานท่านนั้นก็เลือกที่จะลาออกเองเพราะเท่าทีฟังดูพนักงานท่านนี้ก็พอจะสังเกตได้ว่านายคนนี้บางทีก็พูดแปลก ๆ กลางที่ประชุม รวมถึงได้มีพนักงานออกก่อนเค้า 2-3 ท่าน ซึ่งก็ถูกนายจ้างคนนี้กระทำคล้าย ๆ กัน

จากประสบการณ์ของผม ผมว่านายจ้างคนนี้เค้าลืม (หรือตั้งใจลืม) อะไรไปอย่างรึเปล่าครับ??? ลูกจ้างทำความผิดอะไรถึงมีสิทธิ์ที่จะไล่เค้าออก??? มาดูพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 119 กันครับ

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายRead More »


การคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีทำงานไม่เต็มเดือน (Prorated Salary)

มีพนักงานหลายท่านทีเดียวครับ โทรมาสอบถามว่าในการคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีที่พนักงานไม่ได้เริ่มงานต้นเดือนเวลาคิดเงินเดือนนั้นตัวหารที่ใช้เนี้ย ถ้าให้ถูกต้องจริง ๆ ต้องหารด้วยจำนวนวันจริง ๆ ในเดือนนั้นหรือหารด้วย 30 เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ผมขอนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 68 มาเป็นบทเทียบเคียงนะครับ

มาตรา 68: เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้่างต่อชั่วโมงในวันทำงานหมายถึงค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย

เช่นสมมุติว่านางสาวเกรซเริ่มงานที่บริษัท Together ในวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ด้วยเงินเืดือนที่ระบุในสัญญาจ้างคือ 30,000 บาทต่อเดือน และบริษัทให้ค่าสึกหรอรถยนต์ รวมถึงค่าโทรศัพท์ เป็นจำนวนเงิน 9,000 และ 500 บาท ตามลำดับ การที่จะหาเงินได้ก่อนหักค่านู้นนี่ (เงินสมทบประกันสังคม, ภาษีเงินได้ และค่าอื่น  ๆ ) ตัวที่จะนำมาคูณก็คือ จำนวนวันทำงานทั้งหมดในเดือนสิงหาคมหารด้วย 30 ซึ่งในกรณีนี้จะเท่ากับ 27/30 ดังนั้นนางสาวเกรซจะมีเงินเืดือน 27,000 บาท, ค่าสึกหรอรถ 8,100 บาท...Read More »


ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องร้อนทีเดียวครับ (ร้อนมาสักพักใหญ่ละ ยังไม่สรุปสักที) เกี่ยวกับอัตราภาษีที่จะใช้ในปีภาษี 2556 ในแง่มุมของประโยชน์ของอัตราใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือนรวมถึงที่มาที่ไปกว่าจะได้อัตราคำนวณใหม่นั้นในแง่การบัญญัติกฎหมายเค้าทำกันอย่างไรครับ

เป็นเรื่องที่น่าดีใจเมื่อได้ยินเรื่องการปรับตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2556 (ยื่นภายใน 31 มีนาคม2557) เนื่องจากอัตราภาษีใหม่นั้นมีการถ่างช่วงการคิดภาษีออกซึ่งช่วงที่ถ่างออกจะทำำให้เราเสียภาษีในจำนวนที่ลดลง ขออนุญาตนำรูปมากจาก “บล็อกภาษีข้างถนน” (http://tax.bugnoms.com/) เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นนะครับ เช่น รายได้สุทธิ 150,001-500,000 บาท ของเดิมเสียภาษีทั้งก้อนของเงินในช่วงนี้อยู่ 10% แต่อัตราใหม่ มีการแบ่งช่วง 150,001-300,000 บาท เสียภาษี แค่ 5% และที่เหลือในช่วงเสีย 10%

ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลของมนุษย์เงินเดือนรวมถึงคนทำเงินเดือนอย่างข้าพเจ้า 🙂 เป็นต้นว่าเมื่อไหร่เจ้าอัตราภาษีใหม่นี้จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เพราะดูเหมือนว่าความล่าช้าอันนี้มีแต่ก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ถ้าประกาศทันใช้ กรมสรรพกรก็คงทำงานหนักทีเดียวกับการขอคืนภาษีในช่วงยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ประจำปีเนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ยังหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยใช้อัตราเก่าอยู่ ในขณะเดียวกันผมมั่นใจว่ามีหลายบริษัทที่หลงทิศทางไปใช้อัตราใหม่ไปแล้ว หากประกาศไม่ทันใช้ในปีภาษี 2556 ….นึกไม่ออกจริง...Read More »


หนังสือเตือน....อายุของหนังสือเตือนและความสำคัญ

คราวที่แล้ว พี่สายสมรจากบริษัทจำหน่ายเสื้อชั้นในได้ถามถึงกรณีการออกหนังสือเตือน หรือบางท่านเรียกว่า warning letter ว่าการออกต้องออกอย่างไรแล้วมีความสำคัญอย่างไร วันนี้ ผมขอนำพระราชบัญญัติแรงงาน ฯ ที่เกี่ยวข้อง มาเล่าให้ฟังคร่าว ๆ นะครับ โดยภาพรวมแล้วเรื่องหนังสือเตือนมีความเกี่ยวพันกับเรื่องการเลิกจ้างนะครับ แบบว่าเตือนแล้วเจ้าอย่างทำผิดอีก ดังนั้นข้าเชิญให้เจ้าออกจากงานได้ โดยที่ข้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อกำหนดพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 118

การทำผิดข้อบังคับของบริษัทในกรณีไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องให้โอกาสลูกจ้างปรับปรุงตนเองก่อนโดยการออกเป็นหนังสือเตือน ถ้าหากลูกจ้างยังคงทำผิดซ้ำความผิดเดิมในหนังสือเตือนอยู่ ถึงแม้จะเป็นความผิดเล็กน้อยนายจ้างก็สามารถให้ลูกจ้างออกจากงานได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าจะอ้างอิงกันถึงมาตราก็จะเป็นมาตรา 119 (4) กล่าวไว้ประมาณนี้ครับ “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างทำผิดกฎและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว และหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด”  โดยรายละเอียดของหนังสือเตือนต้องระบุถึงระเบียบหรือข้อบังคับที่ลูกจ้างกระทำผิด รวมถึงข้อควมตักเตือน ลงลายมือชื่อของนายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับหนังสือเตือน มีลูกจ้างบางคนไม่ยอมเซ็นต์ชื่อในหนังสือเตือน สิ่งที่นายจ้างต้องทำก็คืออ่านให้พยานฟัง และให้พยานลงชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย ก็ประมาณนี้นะครับ กฏหมายเค้าก็ดูแลลูกจ้างเป็นอย่างดีครับ ผู้ที่เป็นนายจ้างจะทำอะไรก็ต้องงัดข้อกฎหมายมาปฏิบัติ เพื่อป้องกันข้อฟ้องร้องในภายหลังครับ

...Read More »

เมื่อลูกจ้างขโมยของบริษัทไปขาย แต่นายจ้างไม่ไล่ออก แต่จะหักเงินแทน

คุณพี่สายสมรจากบริษัทจำหน่ายเสื้อชั้นในบริษัทหนึ่งในประเทศไทยโทรมาเพื่อระบายอารมณ์ ในขณะเดียวกันก็ขอคำแนะนำว่า คุณพี่ควรจะทำอย่างไรดีค่ะ เมื่อจับได้ว่าพนักงานแอบขโมยเสื้อชั้นในไปขายในตลาดแบกะดิน จากประสบการณ์ในกรณีนี้เข้าข่ายทุจริต และทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 พี่สายสมรสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 อืม…พี่เองก็ไม่อยากทำลายอนาคตเด็กมันอะนะ เอางี้ ถ้าพี่จะหักเงินเด็กเพื่อเป็นการชดใช้ได้หรือไม่ ผมนึกสักพักแล้วก็นึกถึง พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 76 และ 77 มาตรา 76 มีใจความหลัก ๆ ว่า (หาอ่านมาตรานี้เต็ม ๆ กันเองนะคับ) นายจ้างห้ามหักตังค์ลูกจ้าง ยกเว้นเป็นการหักค่า 1) ภาษีเงินได้ 2) ค่าบำรุงสหภาพแรงงาน 3) ชำระหนี้สหกรณ์ (ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง) 4) เงินประกันค่าชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาท 5) เงินกองทุนสะสม ข้อ 2-5 ห้ามหักเกิน 10% ของแต่ละกรณี และหักรวมกันไม่เกิน 20% ของเงินที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือน (เงินในมาตรา...Read More »


Team Building ในมุมมองอีกมุมหนึ่งของ HR

Image

…..ด้านที่สามของเหรียญก็คือสันเหรียญ นั่นหมายถึงว่าเราพร้อมที่จะเป็นทั้งหัวและก้อย บางทีไม่พร้อมแต่ก็ต้องเป็นได้ทั้งหัวและก้อยตามสถานการณ์……เห็นผ่าน ๆ จาก FB ผมเห็นว่าเป็นอะไรที่มีความหมายดี… ไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องที่ผมกำลังจะเขียนนะครับ เมื่อไม่นานมานี้น้องอีกบริษัทที่รู้จักชอบพอกันมาบ่นว่า Team building ปีนี้ไปที่เดิมอีกแล้ว แล้วต้องแบกคอมพิวเตอร์ไปทำงานด้วยเซ็งอะพี่ ทำให้ผมระลึกชาติกลับไปได้ประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาบริษัทผมก็มีจัดอะไรทำนองนี้เหมือนกันบางคนเรียก outing บางคนเรียก team building ก็น่าจะเรียกได้ทั้งสองคำอะนะเอาเป็นว่าเป็นกิจกรรมที่บริษัทจะสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นในกลุ่มพนักงานของบริษัท เคยไหมครับที่อยู่ในสถานการณ์ที่ตัวเองไม่อยากไปแต่นายส่งกระแสจิตมาบอกว่าต้องไป แล้วนายก็พูดออกมาว่าเป็น optional ไม่ได้บังคับ !!! เบื้องหน้าเบื้องหลังของเรื่องนี้มันคืออะไรกันแน่ ผมพอจะเห็นมุมของ HR มุมนึงในเรื่องนี้ครับ คือแน่นอนเค้าอยากให้เราไปร่วม ไม่ว่าจะทำให้งานเค้าดูดี หรือทำให้ทีม strong ขึ้นก็แล้วแต่ครับ แต่เหตุที่เค้าไม่ (กล้า) บังคับให้ไปอย่างออกหน้าออกตาส่งจดหมายว่าทุกคนต้องไปอะไรงี้ก็เพราะ ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ขาแข้งหัก ฟันกรามหลุดในระหว่างงานนี้ ถือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในเวลางาน พนักงานจะได้รับเงินค่ารักษาจากกองทุนชดเชย ไม่ใช่ประกันสังคม ซึ่งพอเป็นกองทุนชดเชย การมีพนักงานเบิกเงินค่ารักษาจากกองทุนชดเชยบ่อย ทำให้บริษัทต้องเสียเบี้ยประจำปีที่ต้องสบทบเข้ากองทุนชดเชยมากขึ้นไปด้วย ….พอเห็นภาพนะครับ อีกเรีื่องที่ผมขอแถมให้ด้วยนะครับ เป็นเรื่องที่มีคนถามผมเหมือนกันว่าถ้าเราเดินทางจากบ้านเพื่อไปหาลูกค้าในตอนเช้าหรือกลับบ้านหลังจากไปหาลูกค้าแล้วดันซวยเกิดอุบัติเหตุในช่วงนั้น...Read More »


วันนี้เป็นวันหยุด (ตามประเพณี) แต่ทำไมผมถึงไม่ได้หยุด

Image

 

วันสงกรานต์แต่ยังต้องไปทำงาน, คุณแม่ไปเวียนเทียนวันวิสาขบูชา แต่เราต้องไปบริษัทนั่งปิดงบบัญชี และเค้าไปบอกรักกันวันวาเลนไทน์ แต่เรานั่งทำงานอยู่คนเดียวอันสุดท้ายนี้ไม่เกี่ยวนะครับ ผมเชื่อว่าเพื่อน ๆ น่าจะเคยตกอยู่ในสถานการณ์อันนี้มาบ้างครับ เคยสงสัยไหมครับว่านายจ้างมีสิทธิ์ทำเยี่ยงนี้ได้หรือไม่ ถ้าได้เค้าต้องให้ผลตอบแทนเราอย่างไรบ้าง ผมข้ออ้างถึง พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 วรรคหนึ่งถึงสามนะครับ มาตรานี้บัญญัติไว้ดังนี้ครับ ลองอ่านดู อันนี้เข้าใจง่ายครับ

หน้าที่ให้นายจ้างต้องประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณี กล่าวคือ วันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด ให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยในปีหนึ่งวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่า 13 วัน ซึ่งนับรวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว โดยหากวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ก็ให้นายจ้างกำหนดวันหยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวให้กับลูกจ้างในวันทำงานถัดไป

ดังนั้น เมื่อนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างเข้ามาทำงานในวันหยุดตามประเพณี และลูกจ้างตกลงทำ นายจ้างต้องจ่ายเป็นเงินค่าทำงานในวันหยุดนะครับ แต่ช้าก่อน มีข้อยกเว้นนะครับ เฉพาะงานที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง ฉบับที่ 4 ซื่งให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันว่า 1) ลูกจ้างจะไปหยุดชดเชยในวันทำงานอื่น หรือ 2) นายจ้างจ่ายค่าทำงานวันหยุดให้ คงต้องกล่าวถึง กฎกระทรวง ฉบับที่...Read More »


 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *