ภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวอีกเรื่องหนึ่งที่เมื่อมีความรู้แล้วทำให้เราสามารถจัดการเรื่องการเงินของเราได้ดีขึ้น แทนที่จะเสียภาษีเต็ม ๆ แบบไม่มีค่าลดหย่อน หากศึกษาจะพบว่า การซื้อประกันชีวิต (ตามเงือนไขที่กรมสรรพการกำหนด) รวมถึงการซื้อหน่วยการลงทุนระยะยาว (LTF) สามารถทำให้เราเสียภาษีน้อยลงได้ แถมยังได้ลุ้นกำไรจากหน่วยการลงทุนเป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น การคิดภาษีบางกรณีสามารถนำเงินได้มาแยกยื่นแล้วคำนวณภาษีอีกแบบหนึ่งได้ ทางเราก็จะนำกรณีศึกษาจากประสบการณ์ทำงานมาแชร์ให้ทุกท่านเป็นความรู้นะครับ
มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560
กรมสรรพากรได้ทำการชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ดังนี้
- เงินบริจาคมีสิทธิ หักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายทางภาษีได้ 1.5 เท่า สำหรับการบริจาคระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2560 โดยสามารถนำจำนวนเงินที่บริจาคไปหักลดหย่อนในการคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ 1.5 เท่า แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคอื่นแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว
- ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเพื่อซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งในลักษณะถาวรกับตัวอาคารหรือในที่ดิน อันเป็นที่ตั้งของอาคาร หรือในการซ่อมแซมห้องชุดในอาคารชุดหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้ง ในลักษณะถาวรกับห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้ว ไม่เกิน 100,000 บาท
- ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเพื่อซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม...Read More »
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปลายปี 2559
สิ้นปีกันอีกแล้วนะครับ นอกจากเรื่องการฉลองปีใหม่ที่เราเตรียมไว้สำหรับวันหยุดยาวที่กำลังจะมาถึง มีอีกเรื่องที่ช่วงปีสองปีที่ผ่านมาเป็นประโยชน์กับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ก็คือเรื่องมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางรัฐบาล ผมขอสรุปเป็นข้อ ๆ พร้อมแนบเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ ไว้ให้นะครับ
1. มีหลัก ๆ 2 เรื่อง 3 ช่วงเวลา
- 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2559 (กฎกระทรวง ฉบับที่ 316)………เรื่องการท่องเที่ยว
- 1 ธันวาคม – 31 ธันวาคม 2559 (กฎกระทรวง ฉบับที่ 322)……..เรื่องการท่องเที่ยว
- 14 ธันวาคม – 31 ธันวาคม 25559 (มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปลายปี 2559 ยังไม่ออกเป็นกฎกระทรวงนะครับ)……….เรื่องสินค้าบริการไม่รวมการท่องเที่ยว
2. เรื่องการท่องเที่ยว เป็นการท่องเที่ยวภายในประเทศเท่านี้น โดยนำค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริงมาหักเงินได้พึงประเมินก่อนเข้าตารางภาษีดังนี้
- 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2559: ลดเงินได้...Read More »
LTF และ RMF กับประกาศกรมสรรพากรฉบับที่ 257 - 259
เพื่อน ๆ น่าจะได้เห็นหรือได้ข่าวเกี่ยวกับการประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับเรื่อง LTF และ RMF ซึ่งประกาศใช้ ณ วันที่ 2 กรกฏาคม 2558 ทางทีมงานขอสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้ครับ
มีการแก้ไขข้อความ“ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีนั้น” (ฉบับเก่า) เป็น “ ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น”
กรมสรรพากรกำหนดคำใหม่ในการการซื้อ LTF และ RMF ให้ชัดเจนเป็น “ ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น” คราวนี้ก็ชัดเจนแล้วซิครับ เงินอะไรที่เป็นเงินได้พึงเประเมินแต่ถ้าคุณไม่เสียภาษี คุณเอาเป็นฐานคิด LTF ไม่ได้นะครับ
ในมุมมองของคนทำเงินเดือน อยากจะเตือนว่าอย่าพลาดนำเงินในส่วนที่ได้รับการยกเว้นต่าง ๆ เช่น เงินยกเว้นกรณีชราภาพ, เงินชดเชยที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายแรงงาน มาเป็นฐานในการคิดเงินสูงสุดที่สามารถซื้อ...Read More »
เงินได้จากค่าย้านถิ่นฐานเข้า/ออก จากบริษัทในประเทศไทย (Relocation Allowance) ของพนักงานต่างชาติเสียภาษีหรือไม่อย่างไร
มีลูกค้าขอคำปรึกษามาบ่อยพอสมควรครับ กรณีที่มีพนักงานชาวต่างชาติจะเดินทางกลับประเทศ แล้วนายจ้างใจดีออกค่าเดินทางให้เช่นค่าตั๋วเครื่องบินรวมถึงค่า Courier ในการขนสัมภาระต่าง ๆ กลับประเทศถิ่นฐานเดิม เงินได้ตรงนี้ต้องนำมารวมคำนวณภาษีหรือไม่
การตอบคำถามนี้ผมขอยกประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา 40(1) และ มาตรา 42(3) มาช่วยในการตัดสินใจนะครับ เงินได้อันนี้ถือเป็นเงินได้ที่ได้จากการจ้างงานนะครับ เพราะฉะนั้นต้องนำมาคำนวณภาษีครับ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 42 มีการกล่าวถึง เงินได้พึงประเมินบางประเภทที่ไม่ต้องนำมาคิดภาษีครับ ซึ่งมาตรา 42(3) กล่าวดังนี้ครับ
“เงินค่าเดินทางซี่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงเล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวันนับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนสิ้นสุดลง”
ตรงนี้ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่คำว่ากลับถิ่นเดิมนะครับ ถ้าให้ถูกจริง ๆ ก็ยึดตามหน้า Passport นะครับ คนชาติไหนกลับถึิ่นเดิมก็คือกลับไปที่ประเทศนั้น ๆ ครับ และที่สำคัญต้องดูด้วยว่าการจะได้สิทธิ์นี้ระยะเวลาการจ้างงานของทั้งสองครั้งต้องมากกว่า 365 วันนะครับ (ดูวันจากสัญญาจ้างงาน)
ดังนั้นในกรณีนี้ ถ้าเป็นการจ้างงานในประเทศไทยครั้งแรกของ Expat ท่านนี้ เงิน Relocation Allowance สำหรับการเดินทางกลับถิ่นฐานเดิม ของเค้าก็ไม่ต้องนำมารวมคิดภาษีนะครับ
.
...Read More »
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 2
บทความที่แล้วเราเห็นภาพแล้วนะครับว่าเงินที่ได้จากกองทุนเมื่อเราออกจากกองทุนก็จะมีทั้งหมด 4 ส่วนนะครับ ส่วนที่นำมารวมคิดภาษีนั้นก็คือส่วนที่ (2) ถึง (4) ครับ คราวนี้ถ้าเกิดเราไม่ได้เกษียณอายุ แล้วอยากนำเงินก้อนนี้ออกมาใช้เราจะจัดการอย่างไรเพื่อให้มีภาระภาษีน้อยที่สุด ผมขอแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ครับ ซึ่งแต่ละกรณีขึ้นกับอายุงานของท่านทั้งหลายครับ
- อายุงานน้อยกว่า 5 ปี (ณ ที่ทำงานที่ได้เงินก้อนนั้น)
ถ้าตัดสินใจว่าจะนำเงินที่ได้จากกองทุนฯ ออกมา จะว่าไปท่านไม่มีทางเลือกอะไรเลยครับ เพราะต้องนำเงินทั้ง 3 ส่วนนั้น (ไม่รวมส่วนที่ 1 นะครับ เพราะเสียภาษีไปแล้ว) ไปรวมคิดกับเงินได้ทั้งปีและคิดภาษีเหมือนปกติครับ (การคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร) ซึ่งปกติแล้วทางกองทุนจะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วครับ (เสริมให้นิดนึงครับ ทางกองทุนนำเงินที่ได้จากกองทุนเท่านั้นนะครับมาหักภาษี ไม่ได้นำรายได้ทั้งปีเรามารวมด้วย ดังนั้นภาษีที่ถูกหักอาจน้อยกว่าความเป็นจริงครับ) และให้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่เราเรียกติดปากกันว่าแบบ 50 ทวิ มาให้สำหรับการยื่นภาษีปลายปีครับ
ในกรณีนี้ถ้าไม่รีบใช้เงินไปลงทุนอย่างอื่น ผมแนะนำให้คงเงินไว้ในกองทุนแล้วโอนเข้ากองทุนใหม่ในที่ทำงานใหม่ครับ เพื่ออย่างน้อยก็อยู่ในกองทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปเพื่อจะได้สามารถแยกยื่นเงินก้อนนี้ได้ครับ...Read More »
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: เงินอะไรที่พนักงานได้เมื่อออกจากกองทุนฯและภาระภาษี ตอน 1
สวัสดีครับ ครั้งที่แล้วได้แชร์ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คงจะทราบแล้วนะครับว่ามีพนักงานเพียงท่านเดียว นายจ้างก็สามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นะครับ คราวนี้มาดูอีกคำถามที่พบบ่อยคือ เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องนำมาเป็นเงินได้พึงประเมินในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ครับ
การที่จะตอบคำถามนี้ได้ต้องเข้าใจ 2 เรื่องครับ 1) เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิก 2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52)
- เงินอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินที่เกี่ยวข้องก็จะมี 4 ส่วนนะครับ 1) เงินสะสม (ลูกจ้างสะสม) 2) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 1) ไปลงทุน 3) เงินสมทบ (นายจ้างสมทบ) 4) เงินที่ได้จากการนำเงินข้อ 3) ไปลงทุน
เงินส่วนที่ 1) และ 2) ปกติพนักงานได้อยู่แล้วนะครับ ถึงแม้พนักงานจะโดนเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความเสียหายให้นายจ้างก็ตาม ส่วนเงินก้อนที่ 3) และ 4) นั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกองทุนครับ เอาเป็นว่าสมมุติได้เงินมา M บาทนะครับ ในกรณีปกติเงินที่เราต้องมารวมคิดภาษีคือเงินก้อนที่ (2), (3) และ (4) [M-(1)]...Read More »
Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) พนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจัดตั้งได้
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
คำถามที่ผมมักได้ยินบ่อย ๆ คือ ต้องมีจำนวนพนักงานขั้นต่ำกี่คน บริษัทจึงสามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ ก่อนจะไปถึงตรงนั้นผมขออธิบายคร่าว ๆ นะครับเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบครับ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม“และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ “ (ลูกจ้างออมเงินเท่าไร นายจ้างช่วยเติมเงินให้ในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายเสมอ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “
หลักการในการสะสมและสมทบเงิน
เงินสะสมของลูกจ้าง
เป็นเงินที่ลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหักจากค่าจ้างสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง
เงินสมทบของนายจ้าง
เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิก โดยอัตราสมทบต้องไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้างบางบริษัทใช้เรื่องของกองทุนในการรักษาพนักงานไว้กับบริษัทโดยการกำหนดเวลาการทำงานขั้นต่ำที่ต้องอยู่กับบริษัทเพื่อให้ได้เงินสมทบในส่วนของนายจ้าง โดยทั่วไปที่พบคือต้องอยู่ครบ 5 ปี (อันนี้แล้วแต่กองทุนนะครับ)
ปล. ข้อบังคับกองทุนอาจระบุถึงเหตุที่จะทำให้สมาชิกหมดสิทธิได้รับเงินสมทบและผลตอบแทนจากเงินสมทบได้ด้วย เช่น การลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน การที่ลูกจ้างทุจริตต่อนายจ้าง หรือทำให้นายจ้างเสียหายด้วยความจงใจหรือด้วยความประมาทเลินเล่อ
กลับมาถึงคำถามว่า จำเป็นต้องมีพนักงานขั้นต่ำกี่คนถึงจะตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นมาได้ ก็ตอบได้เลยว่าพนักงานขั้นต่ำเพียง 1 ท่านก็ตั้งกองทุนได้แล้วครับโดยอ้างอิงจากมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
“มาตรา 5 กองทุนจะมีขึ้นได้ก็แต่โดยที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้น โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสม
และนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น”
คราวหน้าผมจะมาแชร์ให้ฟังในส่วนของภาษีและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพครับ
...Read More »ภาษี: ค่าลดหย่อนบุตร
สวัสดีครับ เมื่อครั้งที่แล้วเราว่ากันเรื่องค่าลดหย่อนคู่สมรส ครั้งนี้ผมขอต่อด้วยค่าลดหย่อนบุตรนะครับ รายละเอียดก็ตามรูปข้างล่างเลยนะครับ
ผมแค่อยากจะเน้นในส่วนของเงื่อนไขอื่น ๆ ที่หลายท่านมักจะสงสัยนะครับ เช่น ลูกเรียนจบมหาลัยแล้ว (อายุ เกิน 20 แต่ยังไม่เกิน 25 ปี) ยังสามารถลดหย่อนได้หรือไม่ อันนี้ก็ต้องตอบเลยว่า “ไม่ได้” นะครับ เพราะเงื่อนไขคือ ถ้าไม่ใช่ผู้เยาว์แล้ว บุตรต้องศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไปถึงลดหย่อนได้ครับ ในกรณีเดียวกันหากบุตรเรียนต่อโท คำตอบก็จะเปลี่ยนไปนะครับ คือนำมาลดหย่อนได้ อีกประเด็นที่อยากจะย้ำคือ คำว่าระดับอุดมศึกษาคือ สูงกว่าระดับมัธยมนะครับ ในที่นี้ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ สูงกว่า ม.6 ครับ ดังนั้น บุตรซึ่งไม่ใช่ผู้เยาว์แล้ว ศึกษาในระดับ ปวช ก็ไม่สามารถนำมาลดหย่อนได้นะครับ เพราะระดับปวช ก็เหมือนเรียน...Read More »
ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา-ลดหย่อนคู่สมรส
สวัสดีครับ นี้ก็ปาไปเกินครึ่งปีแล้วนะครับ ดังนั้นเรามาเตรียมวางแผนภาษีเราก็ดีนะครับ ยิ่งใครที่ได้โบนัสกลางปีมา ก็คงพอกะคร่าว ๆ ได้ว่าเราจะบริหารจัดการกับเงินภาษีกันได้อย่างไร เช่นการซื้อประกันชีวิต หรือกองทุน LTF เพื่อเพิ่มค่าลดหย่อน ทำให้เราเสียภาษีน้อยลง ตอนนี้เป็นต้นไปผมจะลงรายละเอียดค่าลดหย่อนแต่ละตัวนะครับ อ่านสนุก ๆ เป็นความารู้ แล้วถ้าจะดีกว่านั้นก็ลองวางแผนภาษีของเราเองนะครับ แทนที่จะเสียเงินภาษีไปเปล่า ๆ ถ้าเราโยกเงินก้อนที่ได้มาไปก่อให้เกิดประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม แถมลดภาษีได้ด้วย ก็ดีมิใช่น้อย
1) ค่าลดหย่อนคู่สมรส (Spouse Allowance): 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนตัวแรกที่จะพูดถึงคือค่าลดหย่อนภาษีเนื่องจากคู่สมรสครับ อันนี้ต้องเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฏหมายนะครับ นั่นก็คือต้องมีการจดทะเบียน อย่าคิดว่ากรมสรรพากรเค้าไม่ตรวจสอบนะครับ พวกค่าลดหย่อน ระหว่างปีอาจหลับหูหลับตาใส่ไปได้ แต่ตอนยื่น ภงด.90 หรือ ภงด.91 ตอนสิ้นปีใส่ตามจริงนะครับ โดนย้อนหลังไม่คุ้มครับ มีคำถามมาบ่อยเหมือนกันครับ ว่าภรรยาหรือสามีเป็นคนต่างชาติสามารถได้ค่าลดหย่อนนี้หรือไม่ คำตอบก็คือ “ได้” นะครับ เค้าต้องการช่วยลดภาระภาษีครับ ชาติไหนไม่เกี่ยง หากจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายครับ ค่าลดหย่อนอันนี้ไม่ต้องกังวลเรื่องเงื่อนเวลานะครับ สมรสกันระหว่างปีภาษีก็ได้รับลดหย่อนอันนี้ไปเต็ม ๆ นะครับ...Read More »
การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)
ขณะที่เขียนข้อมความนี้ตัวผมเองก็กำลังลุ้นให้ทางรัฐบาลออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2556 ก่อนปิดประชุมสภาในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ยังไงก็แอบใจชื้นเล็ก ๆ เมื่อทางกระทรวงคลังเตรียมแผนสำรองในการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแทนที่จะเป็นพระราชบัญญัติ http://www.thaipost.net/news/190913/79514 ผมคำนวณดูแล้วพนักงานที่เงินเดือนเยอะ ๆ บางที ภาษีต่างกัน 50 – 60% ก็มีครับ วันนี้ก็เลยนึกอยากจะแชร์การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ท่าน ๆ ได้ดูกัน เพราะเป็นความรู้พื้นฐานที่ต้องรู้เพื่อรักษาสิทธิ์ประโยชน์ของเราเอง และก็เป็นการปูพื้นฐานก่อนที่ผมจะเล่าสู่การฟังในเรื่องของการคิดภาษี กรณีบริษัทออกให้ หรือที่ท่าน ๆ เรียกกันว่า Tax on Tax Calculation หรือ Net Benefit อะไรประมาณนี้ครับ ผมสรุปมาให้ดังรูปข้างล่างนะครับ
ตัวอย่าง ถ้าผมเองมีรายได้พึงประเมิณหลังจากหักค่าลดหย่อนแล้ว 350,000 บาท ผมจะต้องเสียภาษีดังนี้ครับ ผมขออนุญาตใ้ช้อัตราใหม่นะครับ
แบ่งเงินเป็นก้อน ๆ ตามอัตราภาษี ในตอนนี้ ผมก็จะมีเงิน 3 ก้อน สำหรับการคิดภาษีถูกไหมครับ ซึ่งแต่ละก้อนก็จะมีอัตราภาษีที่ต่างกันดังนี้ครับ
- ก้อนแรก อยู่ในขั้น ...Read More »
ค่าลดหย่อนภาษีจากบุตรของฝ่ายชายกรณีสมรสไม่จดทะเบียน
ในช่วงที่ผมทำการนำพนักงานใหม่เข้าระบบ payroll ของทางบริษัท สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าอักขระความถูกต้องของตัวอักษร หรือเลขที่บัญชี ก็คือข้อมูลการลดหย่อนภาษี ผมมักจะถูกถามเสมอครับว่าการที่พนักงานฝ่ายชาย เลือกสถานะการสมรสว่า “สมรสไม่จดทะเบียน” แล้วใส่ข้อมูลว่ามีบุตรกำลังศึกษาอยู่ ในกรณีนี้ฝ่ายชายสามารถนำบุตรมาหักลดหย่อยภาษีได้หรือไม่ เหมือนเดิมครับผมข้ออ้างอิงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการตอบคำถามข้อนี้ดังนี้ครับ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และ 1547 บัญญัติไว้ว่า—-
- มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น
- มาตรา 1547 บัญญัติว่า ” เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้มีการสมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือ บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
น่าจะชัดแล้วนะครับ มาตรา 1546 ให้คำตอบเราได้ชัดเลยครับว่า ฝ่ายชายนั้นไม่มีสิทธิ์จะนำบุตรไปลดหย่อนภาษี ในกรณีสมรสไม่จดทะเบียนนะครับ (เพราะถือว่าไม่ได้เป็นบุตรที่ชอบธรรมโดยกฎหมายครับ) ยกเว้น….ดูมาตรา 1547 กันต่อคับ …จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ มีการจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนรับรองการเป็นบุตร….อันนี้ก็ต่างกับฝ่ายหญิงนะครับ ถึงแม้สมรสไม่จดทะเบียนก็สามารถนำบุตรมาหักลดหย่อนภาษีได้ครับ 🙂 ส่วนการลดหย่อนบุตรได้ 15,000 หรือ 17,000 บาท (กรณีบุึตรศึกษาอยู่) สามารถหารายละเีอียดได้ที่ link ของกรมสรรพากรครับ
http://www.rd.go.th/publish/557.0.html
...Read More »
นิติบุคคลต่างประเทศ กับการจ่าย ภ.ง.ด 1 ครั้่งแรก.. "ไม่เจอบริษัทเราในระบบของกรมสรรพากร"
สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงของงานบุคคลยิ่งมีพนักงานเป็นชาวต่างชาติ คงวุ่นวายพอสมควรกับคำว่า Work Permit เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าสู่กันฟังวันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่อง Work Permit ของพนักงานต่างชาติสักทีเดียวครับ แต่เป็นเรื่องที่ผมต้องรีบไปยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของพนักงานที่คนต่างชาติคนนี้เป็นกรรมการบริษัทอยู่เพื่อที่จะใช้ขอ Visa และ Work permit (การที่เค้าจะได้ Visa และ Workpermit 1 ปี ผมต้องเตรียมหลักฐานการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมและหลักฐานการชำระเงินภาษีหักณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1 ของพนักงานในบริษัท)
สิ่งที่เกิดขึ้นคือหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรซึ่งปกติ ถ้าเป็นบริษัทนิติบุคคลในประเทศ ก็จะเป็นหมายเลขเีดียวกับเลขทะเบียนในหนังสือรับรองบริษัท (รูปที่ 1) ผมเตรียมฟอร์ม ภ.ง.ด. 1 อย่างดี รีบไปยื่นที่สรรพากรพื้นที่ พร้อมกับคิดในใจว่าบริษัทเพิ่งจดทะเบียนนายจ้างเสร็จหมาด ๆ มันจะมีปัญหาอะไรไหมหนอ…แต่ก็ไม่น่าจะมีหนิ อันนี้มันเรื่องภาษี ไม่เกี่ยวกับประกันสังคม ทันใดนั้นพี่ที่สรรพากรก็บอกผมว่า น้องครับ เลขผู้เสียภาษีอากรที่น้องใส่มามันไม่ถูกนะครับ หาไม่เจอในระบบนะครับ ผมโทรกลับไปเช็คที่บริษัทเพราะเลขที่ใส่ในฟอร์มอาจพิมพ์ผิดก็ได้ แต่เมื่อเช็คแล้วก็ไม่ผิด พี่ที่สรรพากรจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า เลขที่ได้นั้นยังไม่ Sync...Read More »
ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556
วันนี้ขอนำเสนอเรื่องร้อนทีเดียวครับ (ร้อนมาสักพักใหญ่ละ ยังไม่สรุปสักที) เกี่ยวกับอัตราภาษีที่จะใช้ในปีภาษี 2556 ในแง่มุมของประโยชน์ของอัตราใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือนรวมถึงที่มาที่ไปกว่าจะได้อัตราคำนวณใหม่นั้นในแง่การบัญญัติกฎหมายเค้าทำกันอย่างไรครับ
เป็นเรื่องที่น่าดีใจเมื่อได้ยินเรื่องการปรับตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2556 (ยื่นภายใน 31 มีนาคม2557) เนื่องจากอัตราภาษีใหม่นั้นมีการถ่างช่วงการคิดภาษีออกซึ่งช่วงที่ถ่างออกจะทำำให้เราเสียภาษีในจำนวนที่ลดลง ขออนุญาตนำรูปมากจาก “บล็อกภาษีข้างถนน” (http://tax.bugnoms.com/) เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นนะครับ เช่น รายได้สุทธิ 150,001-500,000 บาท ของเดิมเสียภาษีทั้งก้อนของเงินในช่วงนี้อยู่ 10% แต่อัตราใหม่ มีการแบ่งช่วง 150,001-300,000 บาท เสียภาษี แค่ 5% และที่เหลือในช่วงเสีย 10%
ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลของมนุษย์เงินเดือนรวมถึงคนทำเงินเดือนอย่างข้าพเจ้า 🙂 เป็นต้นว่าเมื่อไหร่เจ้าอัตราภาษีใหม่นี้จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เพราะดูเหมือนว่าความล่าช้าอันนี้มีแต่ก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ถ้าประกาศทันใช้ กรมสรรพกรก็คงทำงานหนักทีเดียวกับการขอคืนภาษีในช่วงยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ประจำปีเนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ยังหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยใช้อัตราเก่าอยู่ ในขณะเดียวกันผมมั่นใจว่ามีหลายบริษัทที่หลงทิศทางไปใช้อัตราใหม่ไปแล้ว หากประกาศไม่ทันใช้ในปีภาษี 2556 ….นึกไม่ออกจริง...Read More »