การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)

ขณะที่เขียนข้อมความนี้ตัวผมเองก็กำลังลุ้นให้ทางรัฐบาลออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2556 ก่อนปิดประชุมสภาในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ยังไงก็แอบใจชื้นเล็ก ๆ เมื่อทางกระทรวงคลังเตรียมแผนสำรองในการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแทนที่จะเป็นพระราชบัญญัติ http://www.thaipost.net/news/190913/79514 ผมคำนวณดูแล้วพนักงานที่เงินเดือนเยอะ ๆ บางที ภาษีต่างกัน 50 – 60% ก็มีครับ วันนี้ก็เลยนึกอยากจะแชร์การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ท่าน ๆ ได้ดูกัน เพราะเป็นความรู้พื้นฐานที่ต้องรู้เพื่อรักษาสิทธิ์ประโยชน์ของเราเอง และก็เป็นการปูพื้นฐานก่อนที่ผมจะเล่าสู่การฟังในเรื่องของการคิดภาษี กรณีบริษัทออกให้ หรือที่ท่าน ๆ เรียกกันว่า Tax on Tax Calculation หรือ Net Benefit อะไรประมาณนี้ครับ ผมสรุปมาให้ดังรูปข้างล่างนะครับ   ตัวอย่าง  ถ้าผมเองมีรายได้พึงประเมิณหลังจากหักค่าลดหย่อนแล้ว 350,000 บาท ผมจะต้องเสียภาษีดังนี้ครับ ผมขออนุญาตใ้ช้อัตราใหม่นะครับ แบ่งเงินเป็นก้อน […]

ค่าลดหย่อนภาษีจากบุตรของฝ่ายชายกรณีสมรสไม่จดทะเบียน

ในช่วงที่ผมทำการนำพนักงานใหม่เข้าระบบ payroll ของทางบริษัท สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าอักขระความถูกต้องของตัวอักษร หรือเลขที่บัญชี ก็คือข้อมูลการลดหย่อนภาษี ผมมักจะถูกถามเสมอครับว่าการที่พนักงานฝ่ายชาย เลือกสถานะการสมรสว่า “สมรสไม่จดทะเบียน” แล้วใส่ข้อมูลว่ามีบุตรกำลังศึกษาอยู่ ในกรณีนี้ฝ่ายชายสามารถนำบุตรมาหักลดหย่อยภาษีได้หรือไม่ เหมือนเดิมครับผมข้ออ้างอิงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการตอบคำถามข้อนี้ดังนี้ครับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และ 1547 บัญญัติไว้ว่า—- มาตรา 1546  เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น มาตรา 1547 บัญญัติว่า ” เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้มีการสมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง  หรือ  บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร น่าจะชัดแล้วนะครับ มาตรา 1546 ให้คำตอบเราได้ชัดเลยครับว่า ฝ่ายชายนั้นไม่มีสิทธิ์จะนำบุตรไปลดหย่อนภาษี ในกรณีสมรสไม่จดทะเบียนนะครับ (เพราะถือว่าไม่ได้เป็นบุตรที่ชอบธรรมโดยกฎหมายครับ) ยกเว้น….ดูมาตรา 1547 กันต่อคับ […]

การคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีทำงานไม่เต็มเดือน (Prorated Salary)

มีพนักงานหลายท่านทีเดียวครับ โทรมาสอบถามว่าในการคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีที่พนักงานไม่ได้เริ่มงานต้นเดือนเวลาคิดเงินเดือนนั้นตัวหารที่ใช้เนี้ย ถ้าให้ถูกต้องจริง ๆ ต้องหารด้วยจำนวนวันจริง ๆ ในเดือนนั้นหรือหารด้วย 30 เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ผมขอนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 68 มาเป็นบทเทียบเคียงนะครับ มาตรา 68: เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้่างต่อชั่วโมงในวันทำงานหมายถึงค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย เช่นสมมุติว่านางสาวเกรซเริ่มงานที่บริษัท Together ในวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ด้วยเงินเืดือนที่ระบุในสัญญาจ้างคือ 30,000 บาทต่อเดือน และบริษัทให้ค่าสึกหรอรถยนต์ รวมถึงค่าโทรศัพท์ เป็นจำนวนเงิน 9,000 และ 500 บาท ตามลำดับ การที่จะหาเงินได้ก่อนหักค่านู้นนี่ (เงินสมทบประกันสังคม, ภาษีเงินได้ และค่าอื่น  ๆ […]

ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2556

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องร้อนทีเดียวครับ (ร้อนมาสักพักใหญ่ละ ยังไม่สรุปสักที) เกี่ยวกับอัตราภาษีที่จะใช้ในปีภาษี 2556 ในแง่มุมของประโยชน์ของอัตราใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือนรวมถึงที่มาที่ไปกว่าจะได้อัตราคำนวณใหม่นั้นในแง่การบัญญัติกฎหมายเค้าทำกันอย่างไรครับ เป็นเรื่องที่น่าดีใจเมื่อได้ยินเรื่องการปรับตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2556 (ยื่นภายใน 31 มีนาคม2557) เนื่องจากอัตราภาษีใหม่นั้นมีการถ่างช่วงการคิดภาษีออกซึ่งช่วงที่ถ่างออกจะทำำให้เราเสียภาษีในจำนวนที่ลดลง ขออนุญาตนำรูปมากจาก “บล็อกภาษีข้างถนน” (http://tax.bugnoms.com/) เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นนะครับ เช่น รายได้สุทธิ 150,001-500,000 บาท ของเดิมเสียภาษีทั้งก้อนของเงินในช่วงนี้อยู่ 10% แต่อัตราใหม่ มีการแบ่งช่วง 150,001-300,000 บาท เสียภาษี แค่ 5% และที่เหลือในช่วงเสีย 10% ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลของมนุษย์เงินเดือนรวมถึงคนทำเงินเดือนอย่างข้าพเจ้า 🙂 เป็นต้นว่าเมื่อไหร่เจ้าอัตราภาษีใหม่นี้จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เพราะดูเหมือนว่าความล่าช้าอันนี้มีแต่ก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ถ้าประกาศทันใช้ กรมสรรพกรก็คงทำงานหนักทีเดียวกับการขอคืนภาษีในช่วงยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 […]

ทำเงินเดือนให้มนุษย์เงินเดือน (3)

มาว่ากันต่อในเรื่องสิทธิประโยชน์ของการเป็นผู้ประกันตนกับระบบประกันสังคมของประเทศไทยกันต่อครับ ในมุมของผมเองและลูกจ้างทั้งหลาย เราค่อนข้างคุ้นกับกองทุนประกันสังคมนะครับ ถ้าให้ชัด ๆ ก็คือเงินที่เราต้องจ่ายสมทบทุกเดือน (ฐานเงินเดือนที่ใช้คิดก็คือ 1,650 – 15,000 บาท)  ปี 2556 นี้ผู้ประกันตนและนายจ้างต้องจ่ายสบทบฝ่ายละ 4% ครับ ในส่วนของกองทุนทดแทนเรา  ๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นกันครับจนกว่าจะเกิดเรื่องขึ้นมา เงินกองทุนทดแทนนั้น เป็นเงินที่ทางนายจ้างต้องจ่ายสมทบให้กับกองทุนเงินทดแทนมากน้อยตามความเสี่ยงของธุรกิจ  (ลูกจ้างไม่ต้องสมทบนะครับ) ขอระบุให้ชัด ๆ นิดนึงครับว่าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 นะครับ มาตรา 40 ไว้มีโอกาสผมจะมา touch base ให้อีกทีครับ เห็นเค้าใช้กันแล้วดูดีครับ 555 คำว่า touch base […]