องค์ประกอบของค่าจ้าง
สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าหลายท่านเคยมีคำถามครับว่าในการคิดค่าล่วงเวลานั้น ต้องเอาฐานรายได้อะไรบ้างมาคำนวน การที่จะตอบคำถามตรงนี้ได้ต้องเข้าใจคำว่าค่าจ้างในมุมมองของทางแรงงานก่อนครับ ค่าจ้างโดยนิยามหมายถึง “เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติและให้หมายถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน” ทั้งนี้รายได้อื่นถึงแม้จะมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่ถ้าตีความออกมาแล้วว่าเป็นค่าจ้าง ก็ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดเงินค่าล่วงเวลานะครับ เช่น นายจ้างให้เงินค่าครองชีพพนักงานโดยมีการจ่ายพนักงานเป็นประจำทุกเดือน และมีจำนวนที่แน่นอน เงินอันนี้จึงถือเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้าง ที่มักจะมีข้อถกเถึยงกันก็ตอนคิดค่าล่วงเวลา หรือตอนจ่ายค่าชดเชยว่าตกลงเงินได้ประเภทใดต้องนำมาเป็นฐานในการคิด ในส่วนของนายจ้างก็อยากจะตัดเงินได้บางประเภทออก เพราะจะทำให้จ่ายเงินค่าล่วงเวลาพนักงานหรือค่าชดเชยน้อยลงในขณะที่ลูกจ้างก็มองอีกมุมครับ ผมขอแชร์หลักการตามรูปข้างล่างนะครับ อย่างไรก็ลองศึกษาคำพิพากษาฏีกาเกี่ยวกับเรื่องคำ่จ้างก็จะทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นครับ ครั้งหน้าเรามาดูเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการกันครับ