วันนี้เป็นวันหยุด (ตามประเพณี) แต่ทำไมผมถึงไม่ได้หยุด
วันสงกรานต์แต่ยังต้องไปทำงาน, คุณแม่ไปเวียนเทียนวันวิสาขบูชา แต่เราต้องไปบริษัทนั่งปิดงบบัญชี และเค้าไปบอกรักกันวันวาเลนไทน์ แต่เรานั่งทำงานอยู่คนเดียวอันสุดท้ายนี้ไม่เกี่ยวนะครับ ผมเชื่อว่าเพื่อน ๆ น่าจะเคยตกอยู่ในสถานการณ์อันนี้มาบ้างครับ เคยสงสัยไหมครับว่านายจ้างมีสิทธิ์ทำเยี่ยงนี้ได้หรือไม่ ถ้าได้เค้าต้องให้ผลตอบแทนเราอย่างไรบ้าง ผมข้ออ้างถึง พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 วรรคหนึ่งถึงสามนะครับ มาตรานี้บัญญัติไว้ดังนี้ครับ ลองอ่านดู อันนี้เข้าใจง่ายครับ หน้าที่ให้นายจ้างต้องประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณี กล่าวคือ วันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด ให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยในปีหนึ่งวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่า 13 วัน ซึ่งนับรวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว โดยหากวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ก็ให้นายจ้างกำหนดวันหยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวให้กับลูกจ้างในวันทำงานถัดไป ดังนั้น เมื่อนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างเข้ามาทำงานในวันหยุดตามประเพณี และลูกจ้างตกลงทำ นายจ้างต้องจ่ายเป็นเงินค่าทำงานในวันหยุดนะครับ แต่ช้าก่อน มีข้อยกเว้นนะครับ เฉพาะงานที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง […]