หากไม่ได้ทำผิด นายจ้างไม่มีสิทธิ์ “ไล่เราออก” แต่ “เลิกจ้าง” เราได้

เพื่อนที่ทำงานเก่า ได้เล่าเรื่องในสถานที่ทำงานของเค้าให้ฟังว่า มีอยู่วันหนึ่งนายของเค้าได้เรียกพนักงานท่านหนึ่งเข้าไปในห้องแล้วยื่นเอกสารให้ 2 ฉบับ ใช่ครับเป็นอย่างที่ทุกท่านคิดครับ ฉบับแรกคือ จดหมายรับรองการทำงาน ฉบับที่สองคือจดหมายไล่ออก…..พวกเราหากไม่เคยอยู่ในสถานการณ์นี้ และยิ่งหากไม่ได้ศึกษาเรื่องกฎหมายแรงงาน ผมว่าเราตั้งตัวกันไม่ติดเหมือนกันนะครับ ลองมาดูกันครับ เราควรทำอย่างไรหากคน ๆ นั้นเป็นเราเอง เจ้านายเริ่มพูดว่า ดิฉันก็จ้างคุณมาค่าตัวแพงอยู่นะ แต่ผลงานคุณมันไม่คุ้มกับเงินที่บริษัทเราจ้างคุณจริง ๆ คุณไม่เหมาะกับงานอย่างนู้นอย่างนี้ บลา บลา บลา ดังนั้นคุณเลือกเอารึกันว่าจะลาออกเองแล้วบริษัทจะให้ใบผ่านงาน หรือจะให้บริษัทไล่คุณออก แล้วเสียประวัติการทำงาน โดยสรุปพนักงานท่านนั้นก็เลือกที่จะลาออกเองเพราะเท่าทีฟังดูพนักงานท่านนี้ก็พอจะสังเกตได้ว่านายคนนี้บางทีก็พูดแปลก ๆ กลางที่ประชุม รวมถึงได้มีพนักงานออกก่อนเค้า 2-3 ท่าน ซึ่งก็ถูกนายจ้างคนนี้กระทำคล้าย ๆ กัน จากประสบการณ์ของผม ผมว่านายจ้างคนนี้เค้าลืม (หรือตั้งใจลืม) อะไรไปอย่างรึเปล่าครับ??? ลูกจ้างทำความผิดอะไรถึงมีสิทธิ์ที่จะไล่เค้าออก??? […]

การคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีทำงานไม่เต็มเดือน (Prorated Salary)

มีพนักงานหลายท่านทีเดียวครับ โทรมาสอบถามว่าในการคิดเงินเดือนพนักงานในกรณีที่พนักงานไม่ได้เริ่มงานต้นเดือนเวลาคิดเงินเดือนนั้นตัวหารที่ใช้เนี้ย ถ้าให้ถูกต้องจริง ๆ ต้องหารด้วยจำนวนวันจริง ๆ ในเดือนนั้นหรือหารด้วย 30 เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ผมขอนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 68 มาเป็นบทเทียบเคียงนะครับ มาตรา 68: เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้่างต่อชั่วโมงในวันทำงานหมายถึงค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย เช่นสมมุติว่านางสาวเกรซเริ่มงานที่บริษัท Together ในวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ด้วยเงินเืดือนที่ระบุในสัญญาจ้างคือ 30,000 บาทต่อเดือน และบริษัทให้ค่าสึกหรอรถยนต์ รวมถึงค่าโทรศัพท์ เป็นจำนวนเงิน 9,000 และ 500 บาท ตามลำดับ การที่จะหาเงินได้ก่อนหักค่านู้นนี่ (เงินสมทบประกันสังคม, ภาษีเงินได้ และค่าอื่น  ๆ […]

หนังสือเตือน….อายุของหนังสือเตือนและความสำคัญ

คราวที่แล้ว พี่สายสมรจากบริษัทจำหน่ายเสื้อชั้นในได้ถามถึงกรณีการออกหนังสือเตือน หรือบางท่านเรียกว่า warning letter ว่าการออกต้องออกอย่างไรแล้วมีความสำคัญอย่างไร วันนี้ ผมขอนำพระราชบัญญัติแรงงาน ฯ ที่เกี่ยวข้อง มาเล่าให้ฟังคร่าว ๆ นะครับ โดยภาพรวมแล้วเรื่องหนังสือเตือนมีความเกี่ยวพันกับเรื่องการเลิกจ้างนะครับ แบบว่าเตือนแล้วเจ้าอย่างทำผิดอีก ดังนั้นข้าเชิญให้เจ้าออกจากงานได้ โดยที่ข้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อกำหนดพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 118 การทำผิดข้อบังคับของบริษัทในกรณีไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องให้โอกาสลูกจ้างปรับปรุงตนเองก่อนโดยการออกเป็นหนังสือเตือน ถ้าหากลูกจ้างยังคงทำผิดซ้ำความผิดเดิมในหนังสือเตือนอยู่ ถึงแม้จะเป็นความผิดเล็กน้อยนายจ้างก็สามารถให้ลูกจ้างออกจากงานได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าจะอ้างอิงกันถึงมาตราก็จะเป็นมาตรา 119 (4) กล่าวไว้ประมาณนี้ครับ “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างทำผิดกฎและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว และหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด”  โดยรายละเอียดของหนังสือเตือนต้องระบุถึงระเบียบหรือข้อบังคับที่ลูกจ้างกระทำผิด รวมถึงข้อควมตักเตือน ลงลายมือชื่อของนายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับหนังสือเตือน มีลูกจ้างบางคนไม่ยอมเซ็นต์ชื่อในหนังสือเตือน สิ่งที่นายจ้างต้องทำก็คืออ่านให้พยานฟัง และให้พยานลงชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย ก็ประมาณนี้นะครับ กฏหมายเค้าก็ดูแลลูกจ้างเป็นอย่างดีครับ ผู้ที่เป็นนายจ้างจะทำอะไรก็ต้องงัดข้อกฎหมายมาปฏิบัติ เพื่อป้องกันข้อฟ้องร้องในภายหลังครับ

วันนี้เป็นวันหยุด (ตามประเพณี) แต่ทำไมผมถึงไม่ได้หยุด

  วันสงกรานต์แต่ยังต้องไปทำงาน, คุณแม่ไปเวียนเทียนวันวิสาขบูชา แต่เราต้องไปบริษัทนั่งปิดงบบัญชี และเค้าไปบอกรักกันวันวาเลนไทน์ แต่เรานั่งทำงานอยู่คนเดียวอันสุดท้ายนี้ไม่เกี่ยวนะครับ ผมเชื่อว่าเพื่อน ๆ น่าจะเคยตกอยู่ในสถานการณ์อันนี้มาบ้างครับ เคยสงสัยไหมครับว่านายจ้างมีสิทธิ์ทำเยี่ยงนี้ได้หรือไม่ ถ้าได้เค้าต้องให้ผลตอบแทนเราอย่างไรบ้าง ผมข้ออ้างถึง พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 วรรคหนึ่งถึงสามนะครับ มาตรานี้บัญญัติไว้ดังนี้ครับ ลองอ่านดู อันนี้เข้าใจง่ายครับ หน้าที่ให้นายจ้างต้องประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณี กล่าวคือ วันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด ให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยในปีหนึ่งวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่า 13 วัน ซึ่งนับรวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว โดยหากวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ก็ให้นายจ้างกำหนดวันหยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีดังกล่าวให้กับลูกจ้างในวันทำงานถัดไป ดังนั้น เมื่อนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างเข้ามาทำงานในวันหยุดตามประเพณี และลูกจ้างตกลงทำ นายจ้างต้องจ่ายเป็นเงินค่าทำงานในวันหยุดนะครับ แต่ช้าก่อน มีข้อยกเว้นนะครับ เฉพาะงานที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง […]